วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เสน่ห์ตลาดตรอกหม้อ ย่านเสาชิงช้าพระนคร

               "ตลาดตรอกหม้อ" นับเป็นชุมชนและตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งย่านเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีของกินทั้งอาหาร คาวหวานมากมายเลยทีเดียว แม้ในวันที่มา "ตะลอนตามอำเภอใจ"ที่ตลาดแห่งนี้จะเป็นเวลาที่สายๆแล้วแต่ผู้คนก็ยังดูคึกคัก ทำให้"ตลาดตรอกหม้อ" แห่งนี้สดใสมีชีวิตชีวาจริงๆ  

 ิ             "ตลาดตรอกหม้อ" ถือเป็นหนึ่งในตลาดทีคึกคักและเก่าแก่ที่สุด ย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯตั้ง

อยู่ในแขวงวัดราชบพิธ  

                  "ตลาดตรอกหม้อ" ไม่เพียงเป็นแหล่งรวมอาหาร แต่ยังสะท้อนวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนกรุงเทพฯ  กลิ่นอายความเป็นชุมชนเก่าแก่ยังคงอบอวลอยู่ทั่วบริเวณ  อาคารบ้านเรือนบางหลังอาจดูเก่าแก่แต่กลับมีความสวยงามตามแบบฉบับของมัน 
                นอกจากนี้ บรรยากาศที่เป็นกันเองทำให้รู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปในอดีต เสียงพูดคุยเจื้อยแจ้วของพ่อค้า แม่ค้า เสียงคนเดิน  เสียงรถเข็น  ผสมผสานกันอย่างลงตัว กลายเป็นเสน่ห์ของ "ตลาดตรอกหม้อ" แห่งนี้
               ช่วงสุดท้ายของ"ตะลอนตามอำเภอใจ" แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ "ตลาดตรอกหม้อ" ก็ยังคงเป็นสถานที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์อันแสนประทับใจและมาเยือนเสมอ
"ตะลอน"


วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มื้อแซ่บแกงเผ็ดปลาดุก ราดขนมจีนบ้านๆ

 


               เป็นอีกมื้อที่แซ่บจริงๆ สำรับขนมจีนน้ำยาแกงเผ็ดปลาดุกอิ่มอร่อยแบบบ้านๆ  แกงเผ็ดถือเป็นเมนูยอดนิยมของคนไทย โดยเฉพาะในภาคกลาง  ความหอมมันของกะทิผสานกับรสชาติเผ็ดร้อนของเครื่องแกงที่ปรุงจากสมุนไพรไทย ผักพื้นบ้านหลากหลายช่วยดับกลิ่นคาวของปลาดุกได้อย่างลงตัว  


          รสชาติเข้มข้นกลมกล่อมสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันออกกลางและอินเดีย  แต่ก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรสชาติของคนไทยจนกลายเป็นเมนูที่ทานได้ทุกเพศทุกวัย ความอร่อยแบบนี้หาทานได้ไม่ยาก  แม้แต่ในร้านอาหารตามสั่ง ร้านข้าวแกงทั่วไปก็ยังมีให้เลือกทาน 


              นี่แหละคือเสน่ห์ของอาหารไทยที่ไม่เพียงแต่เป็นอาหาร  แต่ยังเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความทรงจำจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เดินทอดน่องเบาๆ กินไก่ทอดสี่พระยา สัมผัสชีวิตผู้คน


              สายลมเย็นๆ พัดผ่านใบหน้าขณะที่เดินเรื่อยเปื่อย ตะลอนตามอำเภอใจไปตามถนนย่านสี่พระยา  กรุงเทพฯ แสงแดดอ่อนๆ ทำให้บรรยากาศดูผ่อนคลาย  การเดินแบบนี้ได้ออกกำลังกายเบาๆ  และยังได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ได้เห็นตึกแถวเก่าแก่สลับกับอาคารสมัยใหม่มันเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจเสมอ

               เดินมาได้สักพัก ความหิวเริ่มถามหา    สายตาเหลือบไปเห็นร้านไก่ทอดเล็กๆ  กลิ่นหอมกรุ่นของไก่ทอดกระตุ้นต่อมรับรสอย่างเหลือเชื่อ  เลยต้องแวะเข้าไปสั่งไก่ทอดสองชิ้นกับข้าวเหนียวห่อหนึ่ง  รสชาติของไก่ทอดร้อนๆ กรอบนอกนุ่มในเข้ากันได้ดีกับข้าวเหนียวเหนียวนุ่ม  เพียงเท่านี้ก็อิ่มท้องพร้อมที่จะเดินต่อแล้วนะ



วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

บะหมี่ตำนานกว่า 4 พันปี เวลาหิวมันไม่ธรรมดาเลย


           บะหมี่หมูแดงธรรมดาๆ ชามหนึ่ง  อาจดูเหมือนเป็นเพียงอาหารง่ายๆ  แต่เมื่อความหิวโหยมาเยือน  มันกลับกลายเป็นสิ่งวิเศษที่หาอะไรมาเปรียบไม่ได้  รสชาติที่คุ้นเคย  กลิ่นหอมของหมูแดงที่อบช้าๆ  และเส้นบะหมี่ที่เหนียวนุ่ม  ล้วนเป็นส่วนผสมที่ลงตัว  สร้างความสุขเล็กๆ ให้กับชีวิตประจำวันได้อย่างน่าประหลาดใจ

          ความเป็นมาของบะหมี่นั้นยาวนาน  มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า  มีการรับประทานบะหมี่มาแล้วไม่ต่ำกว่าสี่พันปี  การค้นพบชามบะหมี่โบราณในมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2545  ซึ่งมีอายุถึงสี่พันปี  เป็นเครื่องยืนยันถึงความเก่าแก่และความสำคัญของบะหมี่ในประวัติศาสตร์อาหารโลก  ไม่เพียงแต่ในจีนเท่านั้น  แต่ยังมีการพัฒนาและดัดแปลงสูตรบะหมี่ให้หลากหลายไปตามแต่ละภูมิภาคและวัฒนธรรม  จนกลายเป็นอาหารยอดนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลก

 


             นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว  ยังมีตำนานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับบะหมี่อีกมากมาย  เช่น  เรื่องเล่าที่กล่าวว่าบะหมี่แห้งถือกำเนิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หยวน  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการและการพัฒนาของอาหารชนิดนี้  ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี  บะหมี่ได้ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาสูตร  จนมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ  ทั้งบะหมี่น้ำ  บะหมี่แห้ง  บะหมี่ผัด  และอื่นๆ อีกมากมาย  แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด  บะหมี่ก็ยังคงเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง  และยังคงมีบทบาทสำคัญในวัฒนธรรมอาหารของหลายประเทศทั่วโลก  รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เดินย่ำต๊อกเยาวราช วันสายฝนโปรยปราย หมั่นโถวมีตำนาน


            สายฝนโปรยปรายทั่วเยาวราช กรุงเทพฯ 
มีโอกาสตะลอนตามอำเภอใจ เดินเรื่อยเปื่อยตามอารมณ์  ความชุ่มฉ่ำของสายฝนผสมกับกลิ่นอายของถนนเก่าแก่  ช่างเป็นบรรยากาศที่หาเปรียบไม่ได้  มองไปเห็นหมั่นโถว ร้านริมทางเล็กๆ เลยต้องลิ้มลองหน่อยรสชาติหวานอ่อนๆ  

           ชวนให้นึกถึงฉากในภาพยนตร์จีนกำลังภายในที่คุ้นเคย  โรงเตี้ยมเก่าๆ  ผู้คนพลุกพล่าน  เหล่าจอมยุทธต่างนั่งจิบน้ำชา  กินหมั่นโถว  เป็นภาพที่อบอุ่นและน่าประทับใจ  หมั่นโถว  อาหารง่ายๆแต่กลับอิ่มท้อง กินแทนข้าวได้สบายๆ  

             ยิ่งไปกว่านั้น  มันยังเป็นอาหารจีนโบราณ  ที่มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมา  กล่าวกันว่า  หมั่นโถวถือกำเนิดตั้งแต่สมัยสามก๊ก  ความเก่าแก่  ความเรียบง่าย  และรสชาติที่อร่อย  

             ทำให้หมั่นโถวเป็นมากกว่าขนม  มันคือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์  และวัฒนธรรมจีน  ที่ยังคงอยู่คู่กับผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้  ทุกคำที่กัดกิน  จึงไม่ใช่แค่การรับประทานอาหาร  แต่เป็นการเดินทางย้อนเวลาไปสัมผัสกับเรื่องราวต่างๆมากมาย    



วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

"ขนมจีน" อาหารเส้น สะท้อนวัฒนธรรมไทย


            ขนมจีน อาหารเส้นยอดนิยมของไทย  รสชาติและวิธีรับประทานแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคของประเทศ  ความหลากหลายนี้สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการทำอาหารของคนไทย   

ในภาคกลาง  ขนมจีนมักเสิร์ฟพร้อมน้ำยาหลากหลายชนิด  เช่น น้ำยาปู น้ำยาปลา น้ำยากะทิ  หรือน้ำพริกต่างๆ  รสชาติเข้มข้นกลมกล่อม  รับประทานคู่กับผักสดหลากสีสัน เช่น ผักกาดขาว  ถั่วงอก  แตงกวา  และใบแมงลัก  เพิ่มความสดชื่นและช่วยตัดรสชาติเผ็ดร้อนได้เป็นอย่างดี

 สำหรับภาคเหนือ  ขนมจีนหรือที่เรียกว่า "ข้าวเส้น"  มักรับประทานกับน้ำเงี้ยว  น้ำซุปใสรสชาติกลมกล่อมที่ปรุงจากกระดูกหมู  เครื่องในหมู  และผักต่างๆ  เสิร์ฟพร้อมแคบหมูกรอบๆ  เพิ่มความหอมกรุ่นและรสชาติที่ลงตัว

 ในภาคอีสาน  ขนมจีนหรือ "ข้าวปุ้น"  นิยมรับประทานกับน้ำยาที่ปรุงจากปลาร้า  ซึ่งมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว  และรสชาติจัดจ้าน  นอกจากนี้ยังนิยมนำขนมจีนมาใช้ทำส้มตำ  หรือที่เรียกว่า "ตำซั่ว"  ซึ่งเป็นเมนูที่ผสมผสานความแซ่บของส้มตำกับความนุ่มนวลของเส้นขนมจีนได้อย่างลงตัว

สุุุดท้ายในภาคใต้  ขนมจีนหรือ "โหน้มจีน"  มักรับประทานกับแกงไตปลา  แกงที่มีรสชาติจัดจ้าน  เผ็ดร้อน  และกลิ่นหอมเฉพาะตัวของไตปลา  รับประทานคู่กับผักสดต่างๆ  เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนและเพิ่มความสดชื่น

 


            ขนมจีนจึงไม่เพียงเป็นอาหารเส้นที่ได้รับความนิยม  แต่ยังเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการทำอาหารไทย  ที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละภาค  และสร้างความประทับใจให้กับผู้ได้ลิ้มลอง  ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ


วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ตลาดสายหยุดกม.11 วิถีชาวบ้านเรียบง่าย

          สายลมพัดโชยอ่อนๆ ยามเช้าที่ตลาดสายหยุด  กลิ่นหอมของอาหารหลากหลายลอยฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ  ตลาดเช้าริมถนนกำแพงเพชร 2  ย่านชุมชนรถไฟ กม.11  ตลาดเก่าแก่บ้านๆ แห่งนี้  เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา  ผู้คนพลุกพล่าน  เสียงพูดคุยเจื้อยแจ้วปนกับเสียงพ่อค้าแม่ค้า สร้างบรรยากาศคึกคักเป็นอย่างมาก

           การเดินเรื่อยเปื่อยตะลอนไปตามซอกซอยต่างๆ  เพลิดเพลินกับการชมสินค้ามากมาย  ตั้งแต่อาหารสดใหม่ๆ ผักผลไม้หลากสีสัน  จนถึงอาหารแห้ง และของกินสารพัดชนิด  ที่วางเรียงรายอยู่  เสื้อผ้ามือหนึ่งและมือสองก็มีให้เลือกสรร เดินไปเรื่อยๆก็เจอร้านขายของชำเก่าแก่ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างดี

         แล้วสายตาก็ไปสะดุดกับร้านต้มเลือดหมูเล็กๆริมทางดูบ้านๆ  แต่ดูน่ากินทีเดียว  ไม่รอช้าจึงสั่งต้มเลือดหมูมาหนึ่งชาม  รสชาติกลมกล่อมเครื่องในสดใหม่ กินคู่กับข้าวสวยอิ่มอร่อยจนจุกทีเดียว  

            บรรยากาศของตลาดสายหยุดไม่เพียงแต่เป็นแหล่งรวมอาหารและสินค้ามากมาย  แต่ยังเป็นเสมือนศูนย์รวมของชุมชน  ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เรียบง่าย  อบอุ่นและน่าประทับใจ


วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เสน่ห์ท่าดินแดง ชุมชนเก่าแก่ฝั่งธนฯ


        
        ถือเป็นอีกวันที่มีโอกาสมาเดินเรื่อยเปื่อยตะลอนตามอำเภอใจ ย่านท่าดินแดง ฝั่งธนบุรี

            
          ย่านท่าดินแดงชุมชนเก่าแก่ฝั่งธนฯที่ซ่อนเสน่ห์และเรื่องราวไว้มากมาย  ไม่ใช่แค่ความคึกคักของการค้าขาย แต่ยังเป็นการผสมผสานระหว่างอดีตและปัจจุบันได้อย่างลงตัว ใครจะรู้ว่าชุมชนเก่าแก่แห่งนี้  ซ่อนร้านอร่อยเด็ดๆไว้มากมาย ตั้งแต่ของหวาน ของคาว ไปจนถึงเครื่องดื่ม  นี่แหละคือเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและให้มาเยือนไม่ขาดสาย

           
            การเดินเล่นเรื่อยๆ ได้เห็นตึกแถวเก่าๆ บางหลังยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างน่าทึ่ง  ระหว่างทางจะพบกับร้านค้าต่างๆ  ตั้งแต่ร้านขายของชำ ร้านขายยา  ไปจนถึงร้านอาหาร  แต่ละร้านมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  บางร้านอาจจะดูธรรมดา แต่กลับซ่อนรสชาติอาหารที่แสนอร่อยเอาไว้  

           
             นอกจากนี้  ย่านท่าดินแดงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีกมากมาย  เช่น ศาลเจ้า ตลาด  และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  การมาเยือนย่านนี้  เปรียบเสมือนการเปิดประตูสู่อดีต  สัมผัสถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชน และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้

            
              ท้ายนี้ลองใช้เวลาสักวันมาเดินเล่นชิลๆ  ตะลอนตามอำเภอใจ ย่านท่าดินแดงจะได้พบกับสิ่งที่น่าสนใจ และอย่าลืมเก็บภาพความทรงจำดีๆ  เอาไว้เป็นที่ระลึกด้วยนะ

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ไอ้ควาย

 

           คุณคิดเหมือนผมไม๊เวลาถูกด่า "ไอ้ควาย" ทำไมเรารู้สึกหัวร้อน โกรธ ไม่พอใจ ทั้งๆที่ตั้งแต่โบราณควายถือเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์กับคนมากมาย เพราะเราใช้ควายไถนาปลูกข้าวให้คนกิน แม้ในปัจจุบันเราจเปลี่ยนมาใช้รถไถนาแทนการใช้ควายไถนาก็ตามที

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อปัจจุบันเนื้อควายราคาแพงกว่าเนื้อวัว เนื้อหมูอีกด้วยนะแถมบางประเทศสเต็กที่ทำจากเนื้อควายก็มีราคาแพงกว่าสเต็กเนื้อวัวด้วยซ้ำไป

         อันที่จริงเวลาใครมาด่า "ไอ้ควาย" เราไม่ควรหัวร้อน ควรยิ้มรับอย่างภาคภูมิใจ เพราะเขากำลังยกย่องว่าคุณเป็นคนที่ขยันและอดทนเหมือนควาย ขอบคุณสำหรับคำชมเชิญด่ารัวๆได้เลย "ไอ้ควาย"

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ผีดลใจ

             การพบศพชายนิรนามถูกอุ้มไปทิ้งในป่าละเมาะริมถนนสายเอเชีย พื้นที่บ้านยางงาม หมู่ 10 ต. ท่าช้าง อ.บางกล่ำ ฝั่งขาไป อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2568 โดยสภาพศพถูกเสื้อยางคลุมไว้ถูกยัดในกระสอบปุ๋ยห่อด้วยผ้าห่มอีกชั้น ศีรษะถูกคลุมด้วยถุงดำ คาดว่าเสียชีวิตมาแล้ว 5 วัน

และน่าจะเป็นแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาหลบหนีเข้าเมือง เนื่องจากมีเชือกสีน้ำเงินผูกที่ข้อมือขวา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ขบวนการขนแรงงานเถื่อนจะผูกไว้เพื่อแยกว่ามาจากกลุ่มไหน

หลายคนเชื่อการพบศพชาวเมียนมาครั้งนี้อาจเป็นวิญญาณของคนตายดลจิตดลใจให้คนพบเห็นศพ จนตำรวจชุดสืบสวนตำรวจภูธร จ.สงขลาและชุดสืบสวนตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จ.สงขลา และผู้เกี่ยวข้อง สามารถขยายผลติตามจับกุมชายชาว จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์ตู้ทึบขนคนเมียนมา จำนวน 33 คน และรับว่าเป็นคนขับรถนำศพชาวเมียนมามาทิ้ง เพราะเป็นลมเสียชีวิตในรถ 

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

อำพรางถ่วงน้ำ

 

             นับเป็นคดีสะเทือนขวัญที่อยู่ในความสนใจของสังคมคดีหนึ่ง กรณีชาวบ้านไปตกปลาพบสาวปริศนาผมสีทอง อายุประมาณ 30 ปี ถูกฆาตรกรรมนำศพยัดกระเป๋าเดินทางสภาพเปลือยกายถ่วงสระน้ำแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง คาดว่าเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 5 วัน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา

แน่นอนว่าคดีนี้ประชาชนให้ความสนใจ และคงอยากรู้ว่าผู้หญิงที่ถูกฆาตรกรรมเธอเป็นใครกัน ที่สำคัญคนทำเป็นใคร และฆ่าเธอทำไม ซึ่งตำรวจในพื้นที่กำลังเร่งตามหาญาติของสาวเคราะห์ร้ายคนนี้อยู่เพื่อจะได้รู้ว่าเธอคือใคร 

และบรรดานักสืบของตำรวจภูธรภาค 2 คงต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อหาคนร้ายรายนี้มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2568

ไข้ปั้ง

 

เรื่องมันสั้นตามอำเภอใจ / เสียงผู้คนจ๊อกแจ๊กจอแจและดูวุ่นวายไปหมดสำหรับบรรยากาศเร่งรีบช่วงเช้าๆภายในตลาดเช้าย่านชานเมืองหลวง ซึ่งที่ร้านกาแฟในตลาดฮือฮาอย่างมาก เพราะ "อาแป๊ะ" แกใส่เสื้อเกราะมาขายกาแฟ 

 ลูกค้าขาประจำคนหนึ่งจึงทักทายอาแป๊ะอย่างออกรสชาติ "โหแป๊ะวันนี้ลื้อกินยาลืมเขย่าขวดหรือไงวะใส่เสื้อเกราะยังกับจะไปออกรบ"

 "อาแป๊ะ มองหน้าลูกค้าพร้อมออกอาการปาก คอสั่น แล้วบอกว่า "ช่วงนี้ลื้อไม่ดูข่าวเหรอ ไข้ปั้งระบาด เอะอะก็ปั้ง ปั้ง ปั้ง เมื่อไม่นานนี้วัยรุ่น ปั้ง ปั้ง การ์ดผับดังดับอนาถที่ศรีษะเกษ ส่วนอีกรายที่อยุธยา คนร้ายขับจักรยานยนต์กระหน่ำ ปั้ง ปั้ง ปั้ง อดีตครูดับอนาถคารถเก๋ง"

เมื่อลูกค้าได้ยิน"อาแป๊ะ"เล่าอย่างออกรสชาติ จึงบอก "อาแป๊ะ" ว่า "อั้วว่าตอนนี้ลื้อรีบๆชงกาแฟดีกว่าเพราะลูกค้ารอคิวเยอะแล้ว ก่อนที่ลื้อจะเจอ ปั้ง ปั้ง" 


วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2568

สแกนหม้อ

 เรื่องมันสั้นตามอำเภอใจ / ร้านกาแฟเล็กๆในตลาดเช้าชานเมือง เสียงคนพูดคุยกันพอจับใจความได้

 "เฮ้ยแป๊ะเดี่ยวนี้ลื้อเอาโซ่ล่ามหม้อน้ำต้มกาแฟเลยเหรอเมื่อก่อนไม่เห็นกลัวหายเลย" ลูกค้าคนหนึ่งทักอาแป๊ะด้วยความแปลกใจ 

อาแป๊ะพอได้ยินลูกค้าทักแกก็เลยบอกว่า "ช่วงนี้มีข่าวว่า "สแกนหม้อ" กำลังระบาดหนัก อั้วเลยต้องล่ามไว้ก่อนกลัวหม้อหาย"  

เมื่อลูกค้าได้ยินเช่นนั้นจึงบอกว่า "โธ่แป๊ะลื้อเล่นฮาแต่เช้าเลยนะไอ้ที่ระบาดเขาไม่ได้เรียก "สแกนหม้อ" เขาเรียก "สแกมเมอร์"