วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

เที่ยววัดโพธิ์ท่าเตียน ตำนานยักษ์พระปิดตา

             มัยเด็กๆตอนนั้นบ้านผมอยู่ฝั่งธนบุรี พอผู้ใหญ่พูดถึงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ท่าเตียน ฝั่งพระนคร กรุงเทพฯ ก็จะนึกถึงเรื่องเล่าของยักษ์วัดโพธิ์ ที่สู้กับยักษ์วัดแจ้ง ที่ดูแลวัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ จนกลายเป็นตำนานเรื่องเล่าทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน
           พอนึกถึงทีไรก็อดตื่นเต้นไม่ได้กับเรื่องเล่าของผู้ใหญ่สมัยนั้นขึ้นมาเลยทีเดียว โดยยักษ์วัดโพธิ์ทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ ส่วนยักษ์วัดแจ้งก็ทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้ง และยักษ์ทั้ง 2 ตนก็เป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดแจ้งกลับไม่ยอมจ่าย จึงทำให้ ยักษ์ทั้ง 2 ตนเกิดทะเลาะกัน แต่ด้วยกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตนที่เกิดจากรูปร่างที่ใหญ่โต พอเวลาต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบจึงได้ลงโทษให้

ยักษ์วัดโพธิ์ไปยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งไปยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้ง ซึ่งทุกวันนี้รูปปั้นยักษ์วัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งก็ยืนเด่นสง่าอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอย่างไม่ขาดสายครับ
ครั้งหนึ่งของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" เคยมีโอกาสมาไหว้พระที่วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดสำคัญแห่ง
หนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นโบราณสถาน ที่มีพระพุทธรูปเก่าแก่รอบโบสถ์มีขนาดองค์ใหญ่ที่มีความสวยงามและหาชมยากจริงๆ ซึ่งภายในวัดโพธิ์ มีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆมากมาย อาทิ มีพระไสยาส  พระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ คือ มีประดับมุกภาพมงคล 108 ประการที่พระบาท มีจิตรกรรมลายเส้นบอกตำแหน่งนวดแผนโบราณ นับเป็นบันทึกที่รวบรวมสรรพวิชาตำราเวชเชตุพนทั้งการแพทย์ การเมือง การปกครอง ประวัติการสร้างวัด และ วรรณคดี นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ มีมหาเจดีย์  4 รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ อันประกอบด้วย พระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1-4 มีต้นตำนานสงกรานต์ไทย  คติความเชื่อตำนานสงกรานต์ ซึ่งรัชกาลที่ 3 ให้จารึกลงในแผ่นศิลาติดไว้ที่วัดโพธิ์ เป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว ฯลฯ

           ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" วัดโพธิ์ท่าเตียน หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร นอกจากเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกนิยมมาเที่ยวที่วัดแห่งนี้แล้ว พระปิดตาผงอัฐิ ของวัดโพธิ์ท่าเตียน ยังถูถกล่าวขานโด่งดังในแวดวงพระเครื่อง เพราะมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมามากในด้านประสบการณ์ต่างๆ เนื่องจากพระรุ่นนี้มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ครั้งสงครามอินโดจีนราวๆปี พ.ศ. 2480 ว่ากันว่าทหารที่ไปรบถูกยิงจนล้มแต่ก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่ เพราะลูกปืนไม่ระคายผิว จนมีคำเรียกติดปากกันในยุคนั้นว่าทหารผี แถมยังมีประสบการณ์ครบสูตรไม่ว่าจะคงกะพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยมอีกด้วย...!!!
                                          "นายตะลอน" 

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

ปากน้ำปราณหนุนท่องเที่ยว ชวนกินหมึกแดดเดียวอร่อย

         คยมีคำกล่าวที่ว่า "หากจะกินหมึกแดดเดียวที่อร่อยจนลืมไม่ลงต้องมากินถิ่นปราณบุรี" คำกล่าวที่ว่าคงไม่เกินจริงเท่าใดนักเพราะมันอร่อยสมคำล่ำลือจริงๆหลังจากที่ผมได้มาลิ้มรสความอร่อยปลาหมึกที่ว่าถึงในพื้นที่อ.ปราณบุรี จ. จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่สำคัญยังมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ร่วมงานแถลงข่าว "เทศกาลกินหมึกแดดเดียวและอาหารทะเล ปากน้ำปราณ ครั้งที่ 5" ที่โอเอ็กซ์ซีฟู้ด ร้านอาหารซีฟู้ดเก่าแก่ และมีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของ อ.ปราณบุรี ท่ามกลางบรรยากาศชิวๆริมชายหาด
        คุณโชตินรินทร์  เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บอกว่าการจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือชาวประมงได้นำสินค้าสัตว์น้ำที่ขึ้นชื่อมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอาทิ หมึกแดดเดียว เป็นต้น เป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความพร้อมเหมาะแก่การท่องเที่ยว ความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยว อาหารทะเลอาหารพื้นบ้านที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ เป็นการ
กระจายรายได้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งต.ปากน้ำปราณมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ได้แก่ หาดเขากะโหลก วนอุทยานปราณบุรี ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี เป็นต้น ซึ่งหวังว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้ประชาชนตลอดจนนักท่องเที่ยวได้รู้จักอำเภอปราณบุรี ในเรื่องของหมึกแดดเดียวที่ได้รับการยอมรับและกล่าวขานว่าอร่อยที่สุดในโลกและอาหารทะเล สด อร่อย อันจะเป็นการ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทั้งเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง
ส่วนคุณกิตติพงศ์ สุขภาคกุล นายอำเภอปราณบุรี บอกว่าอยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวงานนี้ภายในงานนอกจากมีกิจกรรมต่างๆแล้ว ยังมีร้านอาหารต่างๆที่มีชื่อเสียงของปราณบุรีมาออกบูธรวมถึงหมึกแดดเดียวที่มีชื่อเสียงของปราณบุรีด้วย เพราะมีรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนใครจึงอยากให้นักท่องเที่ยวได้มาลองกินกันดู
             ขณะที่คุณพะนอ เดชวัน นายกอบต.ปากน้ำปราณ บอกว่าจริงๆแล้วกินหมึกแดดเดียวสามารถกินที่ไหนก็ได้แต่ถ้าอร่อยสุดต้องมากินที่ปากน้ำปราณ เพราะหมึกปากน้ำปราณจะมีความหนาเนื้อหวานมีความกรอบโดยไม่ต้องปรุงรส ตรงนี้ถือว่าชัดเจนมาก และอาหารทะเลต่างๆของที่นี่จะสดใหม่ไม่มีสิ่งเจือปนของสารต่างๆ ส่วนเรื่องการดูแลนักท่องเที่ยวก็มีเจ้าหน้าที่และคนในพื้นที่ช่วยกันดูแลอย่างดี จึงอยากต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านสู่ต.ปากน้ำปราณ
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" สำหรับงาน "เทศกาลกินหมึกแดดเดียวและอาหารทะเล ปากน้ำปราณ ครั้งที่ 5" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 22 ก.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ สโมสรลานมหาราช ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ภายในงานนอกจากจะมีการประกวดเมนูหมึกแดดเดียว และอาหารทะเลจากสุดยอดเชฟยกพลมาร่วมประชันฝีมือแล้ว ช่วงค่ำวันที่ 21 ก.ย. มีการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน โรส ศิรินทิพย์  ส่วนวันที่ 22 ก.ย.มีการแสดงดนตรีสด อคูสติกกับศิลปิน ชาติ สุชาติ จากเดอะ วอยซ์ และดนตรีสไตล์บอสซ่าอีกด้วย...!!!
"นายตะลอน"

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

ก๋วยเตี๋ยวแหกปาก สีสันความอร่อยคู่พาหุรัด

              ากจะเดินเลือกซื้อผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าซาติน ผ้าทราย ผ้าไหมอิตาลี่ ผ้าพลีท ผ้าเครป ผ้าไหมแก้ว หรือแม้แต่ผ้าซับใน ผ้าสักกะหลาด ผ้าลูกไม้ปราด้า ผ้าปักดิ้น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อุปกรณ์เย็บปักถักร้อย อะไรที่เกี่ยวกับผ้า ผมรับรองได้เลยว่ามาเดินเลือกซื้อที่พาหุรัดจะได้อรรถรสอย่างมาก เพราะพาหุรัดเป็นตลาดค้าขายผ้าที่สำคัญและเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครเลยทีเดียวครับ
            ในสมัยกรุงธนบุรีมีชาวญวนมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ซึ่งอพยพมาเมื่อคราวเกิดการจลาจลวุ่นวายในเมืองเว้ พระเจ้าตากสิน จึงให้รับไว้แล้วพระราชทานที่ให้พักอาศัย คือที่แถวพาหุรัดทุกวันนี้ ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่าบ้านญวนหรือถนนบ้านญวน จนกระทั่งสร้างถนนพาหุรัดแล้วจึงเปลี่ยนชื่อมาเรียกว่าพาหุรัดตามชื่อถนนซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 5 ตรงปลายที่ถนนพาหุรัดมาบรรจบกับถนนจักรเพชร มีตรอกหนึ่งซึ่งจะเข้าไปสู่สะพานหัน ตรอกนี้ตั้งชื่อใหม่ว่าวานิช 1 บริเวณนี้เรียกว่าตลาดสะพานหัน นอกจากพื้นที่ของตลาดพาหุรัดจะมีบริเวณกว้างล้อมรอบ
ด้วยถนนหลายสายแล้วตัวตลาดซึ่งเป็นตลาดเก่ายังรายล้อมด้วยอาคารพาณิชย์ขายเสื้อผ้าต่างๆข้าวของใช้ต่างๆแหล่งรวมของชาวอินเดียที่มาปักหลักค้าขายผ้ากันมานานแล้ว
     พาหุรัดนอกจากจะมีชื่อเสียงด้านตลาดผ้าที่มีชื่อเสียงแล้ว ของกินอร่อยๆทั้งอาหารคาวและอาหารหวานยังซ่อนตัวอยู่ในย่านนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะร้านนิวชูรสโภชนา (ก๋วยเตี๋ยวหมูเจ๊กเล็ก 100 ปี) เวลาผมมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ย่านพาหุรัดทีไรส่วนมากจะต้องมาแวะเวียนกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านนี้อยู่ตลอด บางคนก็เรียก "ก๋วยเตี๋ยวแหกปาก" เพราะเวลาสั่งอาหารที่ร้านจะมีการตะโกนบอกต่อด้วยเสียงอันดังจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของร้านนี้  เวลาล่วงเลยผ่านไปอาม่าเจ้าของร้านแกตะโกนไม่ไหวแล้ว ปัจจุบันมีป้าซึ่งเป็นลูกจ้างแกทำงานร้านนี้มาตั้งแต่สาวๆมาแหกปากแทนอาม่า เนี่ยละคือสีสันของร้านนี้เลยก็ว่าได้
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" สำหรับ ร้านนิวชูรสโภชนาหาไม่ยากจากแยก
พาหุรัดไปตามถนนตรีเพชร ทางไปทางสะพานพุทธ เดินเข้าซอยจินดามณี ตรงข้ามโรงเรียนเพาะช่าง จะเจอร้านก๋วยเตี๋ยวฯ เป็นห้องแถว 2 คูหาจะเจออาม่าเจ้าของร้านยืนลวกเส้นอยู่ จะกินอะไรก็สั่งตามใจชอบ อาทิ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ เป็นต้น แล้วตบท้ายด้วยของหวานด้วยไอติมกะทิ ด้วยมันดับร้อนดับเผ็ดชนิดชื่นใจจริงๆนะเออ...
                                "นายตะลอน"

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

ตื่นตาตาตื่นใจ ศิลปะบนเสื้อยืด

              ทุกวันนี้เวลาเดินไปไหนมักจะเห็นลวดลายต่างๆบนเสื้อยืดที่ผู้คนสวมใส่จนตื่นตาตา ตื่นใจจริงๆ ทั้งลายกราฟฟิก ภาพศิลปะ ที่นักออกแบบได้สร้างสรรค์กันขึ้นมาอย่างหลากหลายลงบนเสื้อยืด ด้วยการซิลค์สกรีน การปั้ม การมัดย้อม และการพิมพ์ด้วยเทคนิคต่างๆ หรือแม้แต่การเพ้นท์สีลงไปบนเสื้อให้เกิดภาพต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นงานศิลปะที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ผืนผ้าใบ แต่เป็นการสร้างงานศิลปะลงบนเสื้อยืดครับ
           ช่วงประมาณปี 1913-1948 จากข้อมูลพบสหรัฐอเมริกานำเสื้อยืดไปใช้ในทางการทหาร เพื่อใช้เป็นเสื้อซับเหงื่อ และจากรูปร่างของเสื้อที่เหมือนตัว T จึงเรียกเสื้อชนิดนี้ว่า T-Shirt และยังถูกนำไปใช้เป็นเสื้อสำหรับใส่ซ้อมของทีมกีฬาหลายๆทีมอีกด้วย ซึ่งเสื้อยืดเป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมติดเหมือนเสื้อเชิ้ตแบบปกติ ไม่มีปกเสื้อ ไม่มีกระเป๋าที่หน้าอก มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือตรงส่วนคอจะเป็นคอกลม แขนของเสื้อยืดนั้น
จะไม่เลยข้อศอก มีหลากหลายสีให้เลือกซื้อหรือใส่กันมากมาย
  ต่อมาสื้อยืดถูกพัฒนาให้มีการออกแบบลวดลายต่างพิมพ์ลงไปบนเสื้อยืดที่สวยงาม ทำให้กระแสการใส่เสื้อยืดถูกดึงสู่กระแสแฟชั่นจนถึงทุกวันนี้ และมีการพัฒนาลวดลายต่างๆออกสู่ตลาดเสื้อยืดทั่วโลกเอาใจทุกวัย โดยเฉพาะบรรดาวัยรุ่นได้เลือกใส่กัน ที่สำคัญหาซื้อง่ายแถมราคาขายตามท้องตลาดที่ถูกกว่าเสื้อชนิดอื่นๆทำให้เสื้อยืดเป็นที่นิยมเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย

         ผมมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ที่ "ยูเนียน มอลล์" ปากทางลาดพร้าว กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ผ่านมา (2 ก.ย.61) ซึ่งเป็นแหล่งช็อปสินค้าแฟชั่นที่วัยรุ่นนิยมมาเดินกัน ภายในงานเสือยืด Festival เทศกาลเสื้อยืดอินดี้ ที่ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเอาใจกลุ่มวัยรุ่นวัยทีนแนวอินดี้ Hipster ในงานนอกจากจะรวมเสื้อยืดสตรีทแฟชั่นชื่อดังและเสื้อยืดแนวหายากอินดี้แล้ว ในงานยังมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ มีการสอนการพิมพ์เสื้อ

ด้วยเทคนิคทำมือด้วยน่ะ มีการแสดงมินิคอนเสริต์ และกิจกรรมอื่นๆอีกเยอะทีเดียว ผมเดินดูเสื้อยืดตามบูธต่างๆที่นำเสื้อยืดลวดลายสวยๆมาโชว์และขายแล้วมันรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับงานดีไซด์เก๋ๆของลวดลายบนเสื้อยืดจริงๆ งาน เสือยืด Festival ที่ผ่านมาแม้จะเป็นวันสุดท้ายของงาน แต่ก็คุ้มค่าที่มีโอกาสได้มาร่วมงาน อย่างน้อยๆก็ทำให้ผมคิดถึงการสกรีนเสื้อด้วยตัวเองสมัยที่เรียนศิลปะรู้สึกหัวใจกระชุ่มกระชวยอีกครั้ง
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" ในอดีตที่ผ่านมาการทำลายบนเสื้อยืดนอกจากเป็นแฟชั่นแล้ว เสื้อยืดสามารถสะท้อนความคิดและบุคลิกของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี แถมลวดลายต่างๆยังสามารถสะท้อนและสื่อถึงสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมต่างๆ การต่อต้านของกลุ่มต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การชุมนุมทางการเมืองของคนทั่วโลก ที่เรามักเห็นการสะท้อนแนวคิดผ่านลวดลายบนเสื้อ สะท้อนการเคลื่อนไหวอีกด้วย...!!!
 "นายตะลอน"