บ้านเวียงกาหลง หมู่ที่ 15 ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย นอกจากจะได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 1 ใน 8 แห่งทั่วประเทศ เมื่อช่วงปี 2557 แล้ว
ที่สำคัญ ยังเป็นที่ตั้งของ "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางของชาวบ้าน แหล่งรวมวัฒนธรรมบอกเล่าเรื่องวราวประวัติความเป็นมาในอดีตของ "เวียงกาหลง" อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" ซึ่งแหล่งโบราณสาถาน "เวียงกาหลง" ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง ที่มีลวดลาย เนื้อดินปั้น รวมถึงน้ำเคลือบเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น จึงทำให้เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นที่รู้จักของนักสะสมของ
โบราณในประเทศไทย และต่างประเทศ อีกด้วย แถมรอบๆ บริเวณ "เวียงกาหลง" ยังปรากฏหลักฐานที่ขุดพบเตาเผาโบราณ และเศษเครื่องปั้นดินเผา ร่องรอยคูเมืองโบราณความลึก 3-4 เมตร ที่ยังเหลือให้เห็นอย่างชัดเจน
บริเวณที่ตั้งของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" นอกจากจะ เป็นที่ตั้งเมืองโบราณแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของตำนานแม่พญากาขาว พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ หรือตำนานแม่กาเผือก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ "หลวงพ่อธรรมสาธิต" ได้พัฒนา "เวียงกาหลง" เพื่อสืบทอด
เรื่องราวและตำนานแม่กาขาว พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ใ ห้ลูกหลานชาวเวียงกาหลง ได้ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" และภายใน "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" นอกจากจะเป็นศูนย์กลางหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ของ "เวียงกาหลง" แล้ว ภายในบริเวณศูนย์แห่งนี้ ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณเวียงกาหลง ที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีก 12 แห่งภายในศูนย์พัฒนาศีลธรรมเวียงกาหลงอีกด้วย
ผมหยิบยกเรื่องราวของ "เวียงกาหลง" มาเขียนถึง เพราะมีโอกาสเดินทางมากับคณะของผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ที่นำคณะสื่อมวลชนสัญจรมาศึกษาดูงานผลการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวที่ "เวียงกาหลง" ณ "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" โดย "สายพิรุณ น้อยศิริ" รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย บอกว่า ทางกรมพัฒนาชุมชนพาสื่อมวลชนมาเยี่ยมชม "เวียงกาหลง" ครั้งนี้ เพราะที่นี่เป็น 1 ใน 8 หมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณปี 2557 ในการต่อยอดให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่ง "เวียงกาหลง"
เป็นชุมชนที่มีความรุ่งเรืองทางอารยธรรมโบราณ มีเตาเผา เครื่องเคลือบดินเผาเป็นภาชนะใช้สอยต่างๆมากมาย มีจำนวนเตาเผานับไม่ถ้วน และที่ขุดข้นพบก็นับเป็น 10 เตา ซึ่งบางส่วนก็อาจถูกพื้นที่เกษตรรุกล้ำและค้นหาไม่เจอแล้ว แต่ร่องรอยที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่น ก็อยู่บริเวณที่แห่งนี้ โดยผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผานับพันปียังปรากฎอยู่ในวันนี้ นั่นแปรว่าขบวนการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ชาวบ้านได้อนุลักษณ์
สามารถสืบต่อลวดลายเทคนิคต่างๆ รวมถึงวิธีการจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน
"นอกจาก "เวียงกาหลง" เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแล้ว และยังเป็นจุดที่น่าสนใจ คือ มีตำนานที่ผูกพันกับพุทธศาสนา โดยเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง และมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ทางจังหวัดเชียงรายได้เก็บรวบรวมเรื่องราวต่างๆไว้ให้คนรุ่นต่อๆไปได้ศึกษา นอกจากนั้นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้าน รวมทั้งน้ำใส ไมตรี ต่างๆ ถ้าท่านมาเยี่ยมชมที่นี่จะ
อบอุ่น จะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนล้านนาอีกแห่งหนึ่ง ที่จะได้อีกบรยากาศหนึ่ง ท่านก็จะประทับ
ใจเหมือนกับหลายๆคนที่มาและกล่าวถึง" นางสายพิรุณ กล่าว

"รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน" บอกด้วยว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 หมู่บ้านท่องเที่ยวในประเทศไทยหลายๆแห่ง ที่มีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ทางกรมการพัฒนาชุมชน ก็มีการวิเคราะห์ และเตรียมความพร้อมต่างๆ ซึ่งมัคคุเทศก์ชุมชนก็เริ่มเรียนภาษาต่างๆแล้ว โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ หลายพื้นที่เราก็มีการ
สนับสนุนงบในการแปลข้อมูลต่างๆเป็นสองภาษาเพื่อการสื่อสาร และทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศสามารถเข้าถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และเตรียมงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ทางเว็บไซต์ เพื่อจะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้เข้ามาเยี่ยมชม และเข้าถึงการบริการด้านท่องเที่ยวของชุมชน
"รัชกฤช สถิรานนท์" รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย บอกว่า เสน่ห์ของจังหวัดเชียงรายไม่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ เพราะจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศ ที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับหลายประเทศ ทั้งเมียนมาร์ และลาว มีพื้นที่เชื่อมโยงกับจีน ซึ่งเป็นประตูสู่ประเทศในอาเซียน นอกจากนี้ เสน่ห์ของจังหวัดเชียงราย ก็คือ มีวัฒนธรรมแบบล้านนา
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะที่
"เวียงกาหลง" เมื่อนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือยก็จะได้เห็นวัฒนธรรมแบบล้านนา
ด.ช.ณัฐพล โสตกลาง หรือน้องบอส อายุ 14 ปี มัคคุเทศก์น้อย ภายในชุมชน "เวียงกาหลง" ที่พาคณะเยี่ยมชม "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" บอกว่าอยากให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชมที่ "เวียงกาหลง" เพราะมีประวัติศาสตร์หลายอย่างน่าสนใจมากที่เกี่ยวข้องกับโลกของเรา ส่วนมัคคุเทศก์อีกคน ด.ญ.กรรณิการ์ รัตนลิกุล หรือน้องไข่หวาน อายุ 11 ปี มัคคุเทศก์น้อยอีกคน บอกว่า รู้สึกภูมิใจในการได้ทำ
หน้าที่มัคคุเทศก์น้อย เพราะนอกจาก
ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแล้ว ยังทำให้ตัวเราได้รับความรู้ด้วย
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" ภายใน "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" ซึ่งเป็นที่ตั้งของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" นั้นถือเป็นวัดที่ฉันมังสวิรัติ และรับประทานมังสวิรัติ สำหรับผู้ที่เข้ามาบวชชีพราหมณ์ หรือบวชผ้าขาวที่ถือศีล 8 จะรับประทานอาหารวันละเพียงแค่ 2 มื้อเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่รับศีล 5 รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ การบรรพชาเป็นสามเณร, การบวชชีพราหมณ์ หรือบวชผ้าขาวทั้งชายและหญิงจะมีการบวชและลาสิกขาทุกวัน ส่วนการบรรพชา เป็นพระภิกษุนั้น จะมีพิธี
ใหญ่เป็นประจำปีละ 3 ครั้ง ได้แก่ในช่วงภาคฤดูร้อน วันที่ 6 เมษายน หรือวันจักรี ช่วงเข้าพรรษา และในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกๆ ปี "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" จึงเป็นวัดที่ผสมผสานระหว่างการปฏิบัติถือศีลกินผักอย่างเคร่งครัด และงานด้านสังคมควบคู่กันไป และเป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นวัฒนธรรมเวียงกาหลงกับยุคสมัยใหม่ทีต้องใช้เทคโนโลยีได้อย่างลงตัว
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน
สำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งคือ มูลนิธิสาธิตธรรมานุเคราะห์ ซึ่งจะเน้นให้บริการด้านสังคมควบคู่ไปกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ภายในมูลนิธิจะมีหน่วยงานต่างๆ ที่เรียกว่าวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านศีล 5, วิสาหกิจชุมชนผลิตชากาขาว รวมไปถึงการปลูกดูแลต้นชา การเก็บและนวดชา , วิสาหกิจชุมชนผลิตสมุนไพรไทย, วิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำดื่มกาขาว, ชมรมออมทรัพย์ธรรมสังเวช และวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง...และด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมโบราณ "เวียงกาหลง" จึงเป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ที่มีเสน่ห์แห่งหนึ่งของประเทศไทย...!!!
นวย เมืองธน
***********************************
ที่สำคัญ ยังเป็นที่ตั้งของ "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางของชาวบ้าน แหล่งรวมวัฒนธรรมบอกเล่าเรื่องวราวประวัติความเป็นมาในอดีตของ "เวียงกาหลง" อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" ซึ่งแหล่งโบราณสาถาน "เวียงกาหลง" ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง ที่มีลวดลาย เนื้อดินปั้น รวมถึงน้ำเคลือบเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น จึงทำให้เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นที่รู้จักของนักสะสมของ
โบราณในประเทศไทย และต่างประเทศ อีกด้วย แถมรอบๆ บริเวณ "เวียงกาหลง" ยังปรากฏหลักฐานที่ขุดพบเตาเผาโบราณ และเศษเครื่องปั้นดินเผา ร่องรอยคูเมืองโบราณความลึก 3-4 เมตร ที่ยังเหลือให้เห็นอย่างชัดเจน
บริเวณที่ตั้งของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" นอกจากจะ เป็นที่ตั้งเมืองโบราณแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของตำนานแม่พญากาขาว พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ หรือตำนานแม่กาเผือก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ "หลวงพ่อธรรมสาธิต" ได้พัฒนา "เวียงกาหลง" เพื่อสืบทอด
เรื่องราวและตำนานแม่กาขาว พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ใ ห้ลูกหลานชาวเวียงกาหลง ได้ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของ "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" และภายใน "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" นอกจากจะเป็นศูนย์กลางหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ของ "เวียงกาหลง" แล้ว ภายในบริเวณศูนย์แห่งนี้ ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณเวียงกาหลง ที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีก 12 แห่งภายในศูนย์พัฒนาศีลธรรมเวียงกาหลงอีกด้วย
เป็นชุมชนที่มีความรุ่งเรืองทางอารยธรรมโบราณ มีเตาเผา เครื่องเคลือบดินเผาเป็นภาชนะใช้สอยต่างๆมากมาย มีจำนวนเตาเผานับไม่ถ้วน และที่ขุดข้นพบก็นับเป็น 10 เตา ซึ่งบางส่วนก็อาจถูกพื้นที่เกษตรรุกล้ำและค้นหาไม่เจอแล้ว แต่ร่องรอยที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่น ก็อยู่บริเวณที่แห่งนี้ โดยผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผานับพันปียังปรากฎอยู่ในวันนี้ นั่นแปรว่าขบวนการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ชาวบ้านได้อนุลักษณ์
สามารถสืบต่อลวดลายเทคนิคต่างๆ รวมถึงวิธีการจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน
ใจเหมือนกับหลายๆคนที่มาและกล่าวถึง" นางสายพิรุณ กล่าว
"รัชกฤช สถิรานนท์" รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย บอกว่า เสน่ห์ของจังหวัดเชียงรายไม่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ เพราะจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศ ที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับหลายประเทศ ทั้งเมียนมาร์ และลาว มีพื้นที่เชื่อมโยงกับจีน ซึ่งเป็นประตูสู่ประเทศในอาเซียน นอกจากนี้ เสน่ห์ของจังหวัดเชียงราย ก็คือ มีวัฒนธรรมแบบล้านนา
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะที่
ด.ช.ณัฐพล โสตกลาง หรือน้องบอส อายุ 14 ปี มัคคุเทศก์น้อย ภายในชุมชน "เวียงกาหลง" ที่พาคณะเยี่ยมชม "ศูนย์พัฒนาศิลธรรมเวียงกาหลง" บอกว่าอยากให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชมที่ "เวียงกาหลง" เพราะมีประวัติศาสตร์หลายอย่างน่าสนใจมากที่เกี่ยวข้องกับโลกของเรา ส่วนมัคคุเทศก์อีกคน ด.ญ.กรรณิการ์ รัตนลิกุล หรือน้องไข่หวาน อายุ 11 ปี มัคคุเทศก์น้อยอีกคน บอกว่า รู้สึกภูมิใจในการได้ทำ
ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแล้ว ยังทำให้ตัวเราได้รับความรู้ด้วย
ใหญ่เป็นประจำปีละ 3 ครั้ง ได้แก่ในช่วงภาคฤดูร้อน วันที่ 6 เมษายน หรือวันจักรี ช่วงเข้าพรรษา และในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกๆ ปี "วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง" จึงเป็นวัดที่ผสมผสานระหว่างการปฏิบัติถือศีลกินผักอย่างเคร่งครัด และงานด้านสังคมควบคู่กันไป และเป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นวัฒนธรรมเวียงกาหลงกับยุคสมัยใหม่ทีต้องใช้เทคโนโลยีได้อย่างลงตัว
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน
สำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งคือ มูลนิธิสาธิตธรรมานุเคราะห์ ซึ่งจะเน้นให้บริการด้านสังคมควบคู่ไปกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ภายในมูลนิธิจะมีหน่วยงานต่างๆ ที่เรียกว่าวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านศีล 5, วิสาหกิจชุมชนผลิตชากาขาว รวมไปถึงการปลูกดูแลต้นชา การเก็บและนวดชา , วิสาหกิจชุมชนผลิตสมุนไพรไทย, วิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำดื่มกาขาว, ชมรมออมทรัพย์ธรรมสังเวช และวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง...และด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมโบราณ "เวียงกาหลง" จึงเป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ที่มีเสน่ห์แห่งหนึ่งของประเทศไทย...!!!
***********************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น