คงต้องถือว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว
โดยเฉพาะประเทศไทยนั้น มีแนวชายแดนไม่ว่าจะทางบก หรือมีแม่น้ำกั้นกลางก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องห่วงกันยาวๆ ก็คงเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย บางประเทศที่ยังปล่อยให้แนวตะเข็บชายแดนเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ แหล่งผลิตยาเสพติดชนิดต่างๆ ของขบวนการค้ายาเสพติดและนักค้ายาชื่อดังที่มีความพยายามทะลักยาเสพติด โดยเฉพาะยาบ้า เข้ามายังพื้นที่ชั้นนอกและชั้นในของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จนมีข่าวปรากฏตามสื่อต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน
"เรย์มอนด์ ยาน" ประธาน INCB บอกว่า การลงทุนในการป้องกันและบำบัดรักษาเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด เนื่องจากจะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมได้ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้ที่ต้องพึ่งพายาเสพติดและครอบครัวของพวกเขาด้วย ทุกๆ ดอลล่าร์ที่ใช้ในการป้องกันยาเสพติดยังช่วยรัฐบาลประหยัดงบประมาณในด้านอื่นที่ตามมาได้ถึง 10 ดอลล่าร์ และคณะกรรมการ INCB สนับสนุนรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้ขยายการให้บริการบำบัดรักษา ซึ่งรวมถึงการให้คำแนะนำและพัฒนาทางเลือกในการบำบัดรักษาแบบสมัครใจ เช่น การบำบัดรักษา ตลอดจนการให้คำแนะนำและพัฒนาทางเลือกในการบำบัดรักษาแบบสมัครใจ เช่น การบำบัดรักษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการบำบัดรักษาและป้องกันยาเสพติดสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดทั้งหมด
"ประธาน INCB" ยังแสดงความกังวลว่า ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการรายงานตัวเลขผู้เสพยาเสพติดโดยใช้วิธีการฉีดที่ค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 27 ของผู้ใช้ยาเสพติดโดยวิธีฉีดทั่วโลกใช้เฮโรอีนสารกระตุ้นประสาท Amphetamine-Type Stimulants (ATS) ยาระงับประสาท และยากดประสาท ขณะที่ประเทศจีนประเทศเดียวเท่านั้น มีรายงานตัวเลขผู้เสพอนุพันธุ์ฝิ่นเกือบ 1.3 ล้านคน ในปี 2555 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.2 ล้านคน ในปี 2554 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของความต้องการในประเทศจีนนี้ อาจเป็นแรงผลักดันให้ความต้องการเฮโรอีนซึ่งผลิตจากแหล่งอื่นๆ ในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
"เจรมี ดักกลาส" ผู้แทนสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก บอกว่า การรวมตัวกันอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคเป็นสิ่งจูงใจอันยิ่งใหญ่สำหรับเครือข่ายนักค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งสหประชาชาติกังวลว่าการรวมกลุ่มกันในระดับภูมิภาคยังไม่ได้รับข้อคิดตามนัยยะอย่างเพียงพอ รวมถึงข้อมูลว่าการรวมกลุ่มกันของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ จะทำให้ความเชื่อมโยงกันระหว่างเคมีภัณฑ์ ยาเสพติด และตลาดทำได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่เคยได้ และรัฐบาลควรพิจารณาว่าในผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ ซึ่งการทำให้หละหลวมขึ้นของการควบคุมการส่งออกเคมีภัณฑ์ระดับชาติ คือองค์กรอาชญากรรมจะสามารถเข้าถึงเส้นทางของเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดโดยชอบด้วยกฎหมาย และจะส่งผลให้การส่งออกเคมีภัณฑ์เหล่านี้ไปยังตลาดผลิตยาเสพติดในต่างประเทศกระทำได้ง่ายขึ้น
"ผู้แทนสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติฯ" ยังชี้ให้เห็นว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และนับเป็นตลาด ATS ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นยาเสพติดที่เป็นภัยคุกคามในระดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสถิติการจับกุมเมทแอมเฟตามีนทั้งในรูปแบบเม็ดและผลึกอยู่ในระดับสูงสุดในปี 2555 ตามรายงานของสหประชาชาติ และเฮโรอีน หรือเมทแอมเฟตามีน สามารถผลิตได้โดยใช้เคมีภัณฑ์เท่านั้น แต่มักจะมิได้ถูกผลิตในสถานที่ซึ่งพบยาเสพติดนั้นๆ หากถูกลำเลียงเข้ามาจากประเทศใกล้เคียง ในขณะที่เอเชียเป็นแหล่งและตลาดเคมีภัณฑ์ สำหรับผลิตอะเซติกแอนไฮไดรด์ สารเคมีจำเป็นสำหรับผลิตเฮโรอีนจากฝิ่นดิบ
"เราจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร็ว เนื่องจากสามเหลี่ยมทองคำถือเป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของอนุภูมิลุ่มน้ำโขง และแผนการได้ถูกดำเนินไปเพื่อแผ่ขยายระบบโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม ตลอดจนลดการกีดกันทางการค้าและควบคุมชายแดนทั่วภูมิภาค เครือข่ายองค์กรอาชญากรรม ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการค้ายาเสพติดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้วางแผนในจุดที่เหมาะสมสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์จากการรวมตัวกันในภูมิภาค และไม่มีประเทศใดมีภูมิคุ้มกันจากความท้าทาย ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ยาเสพติดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้วางแผนในจุดที่เหมาะสมสำหรับการแสวงผลประโยชน์จากการรวมตัวกันในภูมิภาค" นายเจรมี ระบุ
ภายหลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้นลง ผมมีโอกาสสัมภาษณ์ พูดคุยกับ "รัชนีกร สรสิริ" รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือป.ป.ส. เกี่ยวกับการที่สหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยว่า หลังจากประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศไทยด้วย หากมีการบูรณาการทางเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกิจการค้ายาเสพติดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ทาง ป.ป.ส.ของไทยมองว่าอย่างไร และมีวิธีเตรียมการป้องกันปราบปรามอย่างไร
โดย "น.ส.รัชนีกร" บอกว่า การที่สหประชาชาติฯ มองว่าหลังมีการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียน จะยิ่งทำให้ปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นนั้น สำนักงาน ป.ป.ส.เองก็มองทำนองนี้เหมือนกัน เพราะความเจริญในภูมิภาคนี้ทุกคนได้รับประโยชน์ ผู้ค้ายาเสพติดเองก็ได้ประโยชน์ ก็อาจมีการลักลอบ ลำเลียงยาเสพติดตามเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบายมากขึ้น แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง ถ้าความเจริญเข้าไป ประชาชนในพื้นที่ก็จะได้ประโยชน์ อาจจะมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาจจะเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติดก็เป็นได้ ถ้าเราเอาเรื่องของการพัฒนาเข้าไป ก็จะทำให้คนเข้าถึงความเจริญมากขึ้น เปลี่ยนมุมมองว่าไม่ไปค้าแล้วยาเสพติด มาประกอบอาชีพอื่นที่สุจริตมากกว่า เพราะบางคนอาจมีปัญหาติดหนี้พนัน รวมถึงฐานะทางบ้านยากจน ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด
"สหประชาชาติมองว่าผลกระทบทางลบจะมีมั๊ย เพราะเค้าคิดเผื่อว่าอาจจะมี ที่ว่าความเจริญเข้ามา นักค้าก็เข้ามาด้วย ก็เหมือนไทย ความเจริญต่างๆของเรามากเสียจนเป็นแดนสวรรค์ของผู้ประกอบอาชญากรรมประเภทอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ยาเสพติดที่จับได้ในเมืองไทย การเข้าไปประกอบกิจการค้าที่พัทยา ภูเก็ต ก็อาศัยความเจริญเหล่านี้เข้ามาในลักษณะแบบเดียวกัน สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำ คือการป้องกันว่าจะทำอย่างไรถึงจะสกัดไม่ให้เกิดขึ้น และต้องทำงานร่วมกันทุกหน่วยงาน ซึ่ง ป.ป.ส.ก็ทำงานร่วมกับหลายหน่วย ทั้งตำรวจและทหาร" รองเลขาธิการ ป.ป.ส. ระบุ
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" จากข้อมูลของคณะกรรมการการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ หรือ INCB พบว่ามีเพียง 1 ใน 6 ของผู้ใช้ยาเสพติดทั่วโลก หรือประมาณ 4.5 ล้านคน ที่ได้รับการบำบัดรักษาตามความต้องการ ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมกันทั่วโลกถึง 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ต่อปี และพบว่าเฮโรอีน กัญชา และโคเคน เป็นยาเสพติดที่พบการใช้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดรักษาทั่วโลกอีกด้วย...!!!
นวย เมืองธน
******************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น