โดยเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งแรก และแห่งเดียวที่ประกาศจัดตั้งตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 และมีภารกิจหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดแบบควบคุมตัว ตามรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic Community) หรือ T.C.) ที่สำคัญศูนย์ลาดหลุมแก้วแห่งนี้ ยังนำวิธีด้านครอบครัวบำบัดมาประเมินผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละราย ว่ามีความจำเป็นต้องใช้วิธีการครอบครัวบำบัดหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการครอบครัวบำบัดตามความจำเป็นในแต่ละกรณี และศูนย์ลาดหลุมแก้วก็ใช้
ความพยายามและประยุกต์ใช้วิธีการครอบครัวบำบัดจากแนวคิด ทฤษฎี สู่การทำงานจริงอย่างรอบด้านมากกว่ากรณีอื่นๆ จากที่เคยดำเนินการอยู่แต่เดิม สามารถสะท้อนให้เห็นภาพรวมของระบบงานครอบครัวบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ผมหยิบยกเรื่องราวของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (บ้านลาดหลุมแก้ว) มาเขียนถึง เพราะมีโอกาสร่วมเดินทางมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" กับคณะผู้บริหารระดับสูงของกรมคุมประพฤติ ที่นำคณะสื่อมวลชนจากทุกแขนงมาศึกษาดูงานถึงกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
"รื่นวดี สุวรรณมงคล" อธิบดีกรมคุมประพฤติ บอกว่า ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยเป็นปัญหาวิกฤต ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยใช้หลัก "การป้องกันนำหน้าการปราบปราม ผู้เสพต้องได้รับการรักษาและผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษอย่างเด็ดขาด"
จากนโยบายดังกล่าวถือว่าผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วย มิใช่อาชญากร จึงต้องได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทั่วถึง จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ขึ้น ซึ่งเป็นระบบบังคับบำบัด และเริ่มดำเนินการทาตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2546 เป็นต้นมา โดยมีกรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ
สำหรับกระบวนการในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ เริ่มจากเมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหาที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
"น.ส.รื่นวดี" กล่าวอีกว่า การฟื้นฟูในระบบบังคับบำบัดจะมี 2 ประเภท คือ 1.การฟื้นฟูฟู แบบควบคุมตัว ซึ่งแบ่งเป็นการฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัวเข้มงวด และการฟื้นฟูแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด จะใช้
หลังจากนั้นจะเข้าสู่โปรแกรมกลับสู่
2.การฟื้นฟูแบบไม่ควบคุมตัวจะมีการฟื้นฟูฯ 3 ลักษณะ คือ การฟื้นฟูฯ แบบผู้ป่วยนอก โดยจะส่งเข้าโปรแกรมจิตสังคมบำบัดที่สถานีอนามัย โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร โดยใช้เวลาฟื้นฟู 4 เดือน และการฟื้นฟูฯ แบบผู้ป่วยใน โดยส่งฟื้นฟูฯ แบบผู้ป่วยในสถานพยาบาลใช้เวลาฟื้นฟูฯ 4 เดือน
ซึ่งทั้งการฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกและแบบผู้ป่วยในจะต้องเข้าโปรแกรมกลับสู่สังคมของสำนักงานคุมประพฤติต่ออีก 2 เดือน รวมเป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนี้จะมีการฟื้นฟูฯ โดยใช้โปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติจะฟื้นฟูฯ โดยพนักงานคุมประพฤติใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยา การทำกลุ่มบำบัด การอบรมให้ความรู้ การฝึกอาชีพ โดยใช้เวลา 6 เดือน
"อธิบดีกรมคุมประพฤติ" บอกด้วยว่า สำหรับสถิติการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูฯ ทั่วประเทศ จะมียอดสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น ในปี2552 มียอด 106,186 ราย
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จังหวัดปัตตานี ในปี 2556 นี้ โดยออกแบบโปรแกรมบำบัดโดยเน้นอัตลักษณ์ของพี่น้องมุสลิมอีกด้วย
"อัญชลี พัฒนสาร" ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (บ้านลาดหลุมแก้ว) บอกว่า ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มีการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ตลอดจนการให้การศึกษาและการฝึกอาชีพ โดยใช้วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic Community) หรือที่เรียกว่า T.C.
เป็นศูนย์ฯ ฟื้นฟูแบบควบคุมตัวอย่างเข้มงวด รับผิดชอบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในทุกท้องที่ทั่วประเทศ โดยศูนย์ดังกล่าวสามารถรองรับผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ในแต่ละปีได้ 280 ราย ซึ่งตั้งแต่เริ่มดำเนินการศูนย์ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2546 ได้มีการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดไปแล้วถึง 2,545 ราย และปัจจุบันมีผู้อยู่ระหว่างการฟื้นฟูฯ จำนวน 76 ราย
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับน้องบี (นามสมมุติ) วัย 25 ปี และน้องเอ วัย 24 ปี (นามสมมุติ) สองสาว ที่เข้ามารับการฟื้นฟูฯ ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
(บ้านลาดหลุมแก้ว) แห่งนี้ แม้เธอทั้งสอง คนจะมาจากคนละที่ คนละจังหวัด แต่สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองคน คือเธอยอมรับว่าการได้เข้ามาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้ เจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ให้การดูแลพวกเค้าเป็นอย่างดี จนรู้สึกอบอุ่น มีความสุข และทำให้ตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น แม้ในระยะแรกที่เข้ามาอยู่ภายในศูนย์แห่งนี้จะรู้สึกว่าไม่อยากอยู่ก็ตาม
โดย "น้องเอ" สาววัย 24 ปี เล่าว่า ก่อนหน้านี้เธอเป็นแม่ค้าขายปลา ย่านบางเขน กทม. เนื่องจากเธอทำงานหนัก ตื่นเช้า และอยากลองจึงหันมาเสพยาบ้าเพื่อจะได้ทำงานได้มากขึ้น

นวย เมืองธน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น