โดยกระบวนการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายในทุกขั้นตอนนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร ได้พิจารณาอย่างรอบคอบและรวดเร็วไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด ขณะเดียวกันมีวัตถุอันตรายที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนฯ แล้วรวมจำนวนทั้งสิ้น 2,665 รายการ ซึ่งวัตถุอันตรายที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมดนี้ ครอบคลุมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกกลุ่มที่เกษตรกรใช้
ส่วนวัตถุอันตราย 4 ชนิด ได้แก่ คาร์โบฟูราน ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น และเมโทมิล ที่มีกลุ่มคัดค้าน
ไม่ให้มีการขึ้นทะเบียนนั้น ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรยังไม่มีการออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนให้กับสารเคมีทั้ง 4 ชนิด โดยได้สั่งการให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนฯ พิจารณาข้อมูลให้รอบคอบทุกด้าน หากมีผู้ประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว รวมทั้งวัตถุอันตรายชนิดอื่นที่อยู่ในรายการเฝ้าระวังด้วย จากจำนวนวัตถุอันตรายที่ผ่านการขึ้นทะเบียนดังกล่าว จึงมั่นใจว่าเกษตรกรมีวัตถุอันตรายเพียงพอต่อการใช้อย่างแน่นอน
ที่สำคัญ "อธิบดีกรมวิชาการเกษตร" ยังระบุถึงตามที่มีผู้กล่าวอ้างว่าการดำเนินการขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการเกษตรล่าช้า เป็นสาเหตุที่ทำให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปลอมระบาดนั้นจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ขอให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อสังคมด้วย นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังไม่เคยได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีการขาดแคลนวัตถุอันตรายจากเกษตรกร ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ได้เข้มงวดตรวจสอบ สุ่มเก็บตัวอย่าง
ทั้งจากโรงงานผลิต และร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างสม่ำเสมอ
โดยผลการดำเนินงานในช่วงปี 2553 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีการดำเนินคดีกับผู้ผลิตและจำหน่ายสารเคมีปลอมรวมจำนวนทั้งสิ้น 131 ร้านค้า รวม 384 คดี โดยการดำเนินการปราบปรามจากนี้ไปจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่กระจายอยู่ในเขตปริมณฑล และเพื่อให้การดำเนินการปราบปรามเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วมากขึ้น ขอความร่วมมือให้ทางสมาคม
หรือผู้ที่ทราบเบาะแสแหล่งผลิตหรือร้านค้าที่จำหน่ายสารเคมีปลอม แจ้งเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตรเข้าไปดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการตามกฏหมายกับผู้กระทำผิดซึ่งจะเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้การปราบปรามสารเคมีปลอมหมดไปจากสังคมโดยเร็ว
ผมหยิบยกเรื่องราวของสารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร มาเขียนถึง เพราะเมื่อช่วง 2 วันที่ผ่านมา (26 ธ.ค.) มีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดโครงการ wednesday Meeting Press
ที่ "ธาริต เพ็งดิษฐ์" อธิบดีดีเอสไอ ระบุว่าเป็นการพบปะระหว่าง ดีเอสไอ และ สื่อมวลชน ที่จะจัดขึ้นทุกวันพุธ เวลา 14.00 น. เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของดีเอสไอ กรณี สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา ดีเอสไอ ทลายโกดังสินค้ากำจัดวัชพืชปลอม 3 จุด ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.นครสวรรค์ ยึดของกลางรวม กว่า 30 ล้านบาท ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ
"พ.ต.ท.ชินโชติ แดงสุระศรี" ผบ.สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา บอกว่า หลังจากได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรว่าขณะนี้ได้มีสินค้าเกษตรประเภทสารกำจัดวัชพืช
ซึ่งใช้แล้วไม่ได้ผล ทำให้เกิดความเสียหาย สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้ร่วมกับส่วนคุ้มครองพยานนำโดยพ.ท.นราธิป จุละจาริตต์ ผอ.ส่วนคุ้มครองพยาน ลงพื้นที่สืบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริงจนสามารถรู้แหล่งผลิต และจุดที่นำสินค้าไปเก็บในหลายพื้นที่ หลังจากนั้นกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงได้แจ้งไปยังตัวแทนผู้เสียหายบริษัท ลักกี้ ครอป ซายม์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า ประเภทสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) สารกำจัดแมลง และสารป้องกันและกำจัดโรคพืช รายใหญ่ว่ามีผู้ลักลอบนำสินค้าประเภทดังกล่าว
ที่ปลอมเครื่องหมายการค้าและมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานมาจำหน่าย จึงได้ร่วมกันทำการสืบสวนติดตามกลุ่มผู้กระทำผิดดังกล่าว จนพบว่า "ประภัตร์ สังข์ภิรมย์" ได้ลักลอบผลิตสินค้า ประเภทสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) สารกำจัดแมลง และสารป้องกันและกำจัดโรคพืชที่ปลอมเครื่องหมายการค้ายี่ห้อ ตราปูระฆัง แอทลาสดาซิม เอมีน-สตาร์ 84 ซิมเมอร์ และยี่ห้อเวอร์มิล เป็นต้น เพื่อขายส่งให้กับร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด


โดยจุดที่ 1 ได้เข้าตรวจค้นที่อาคารโรงงานไม่มีเลขที่ บริเวณหมู่ที่ 8 ต.สามเมือง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสถานที่ผลิต และเก็บซุกซ่อนสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้า รวมของกลางทั้งสิ้น 2,088 ชิ้น โดยมี "ประภัตย์ สังข์ภิรมย์" เป็นเจ้าของ
"พ.ต.ท.ชินโชติ " กล่าวต่อว่า ส่วนจุดที่ 2 เข้าตรวค้น บ้านเลขที่ 19/21-1 หมู่ 1 ต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่าย และเก็บซุกซ่อนสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้า รวมของกลางทั้งสิ้น 1,176 ชิ้น โดยมี"ประภัตย์ สังข์ภิรมย์" เป็นเจ้าของ
ส่วนจุดที่ 3 เป็นอาคารในปั้มน้ำมันไม่มีเลขที่ที่ปิดกิจการแล้ว บริเวณหมู่ที่ 4 ริมถนนสาย 1182 (วัดไทร-นครสวรรค์) ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่าย และเก็บซุกซ่อนสินค้าที่ปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า รวมของกลางทั้งสิ้น 3,474 ชิ้น โดยมี "เกรียงศักดิ์ พงษ์ดี" เป็นเจ้าของ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงควบคุมตัว "นายประภัตย์" และ "นายเกรียงศักดิ์" พร้อมของกลางที่ยึดได้รวม 6,738 ชิ้น มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ไปดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยแจ้งข้อกล่าวหาว่า "ปลอมและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมาย
นวย เมืองธน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น