"ตะลอนตามอำเภอใจ"-เมื่อปลายปี 2554 เกิดอุทกภัย สร้างความเสียหายในพื้นที่หลายจังหวัด ตั้งแต่ภาคเหนือจนจรดภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิต
และไร้ที่อยู่จำนวนมาก ภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมต้องสูญเสียจากภัยพิบัติดังกล่าวอย่างมหาศาลผู้ประสบภัยต่างดำรงอยู่ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากปัจจัยทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค แม้ว่าภาครัฐ เอกชน องกรณ์ มูลนิธิต่างๆจะประสานการปฎิบัติร่วมมือกันช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจขจัดความเดือดร้อนของประชาชนให้บรรเทาลงได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ภาครัฐต้องระดมสรรพกำลังตลอดจนงบประมาณนับแสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชน และฟื้นฟูสาธารณสมบัติต่างๆให้กลับสู่สภาวะปกติ
ภายหลังเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วม "คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนบริหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแนวทางจัดการลุ่มน้ำ 8 แห่ง คือ ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน และเจ้าพระยา ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยจะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการฟื้นฟูป่าไม้ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2555 นโยบายดังกล่าวถูกขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว
ผมหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนถึง เพราะมีโอกาสเดินทางมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ในพิธีเปิดโครงการฟื้นฟูการอนุรักษ์ป่าและดินการทำฝายและวันต้นไม้แห่งชาติประจำปี 2555 ที่บริเวณลุ่มน้ำแม่แตง บ้านศรีดงเย็น หมู่ 5 ต.บ้านช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อไม่นานเท่าไหร่ ซึ่งมี "คุณปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข" รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาเป็นประธานในพิธี โดยมีผู้บริหารกรม กอง จากหลายหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และจากส่วนอื่นๆ พร้อมด้วยประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
"คุณปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข" รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกว่า ได้รับมอบหมายจาก "นายกรัฐมนตรี" ในการเปิดโครงการดังกล่าว และถือเป็นพื้นที่นำร่อง 1 ใน 8 พื้นที่ลุ่มน้ำหลักทั่วประเทศ ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง เจ้าพระยา ป่าสัก และท่าจีน เน้นการปลูกป่า สร้างฝายตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
โดยกรมป่าไม้จะใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 143 ล้านบาท ในการก่อสร้างฝายกึ่งถาวรกว่า 2 พันแห่ง และฝายสร้างฝายถาวรกว่า 600 แห่ง ส่วนงบประมาณที่เหลือจะนำไปดำเนินการในเรื่องการ
เพาะกล้าไม้ ตามโครงการปลูกป่าของรัฐบาล ภายหลัง 60 วันจะสามารถสร้างเสร็จหลังการอนุมัติงบประมาณเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2555 จะเร่งดำเนินการสร้างฝาย เพาะกล้าไม้ เพื่อนำไปปลูกใน 8 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก และอีก 17 พื้นที่ในการขยายผล รวม 25 พื้นที่ ให้แล้วเสร็จ
"คุณปรีชา" ยังบอกว่า ในการสร้างฝายที่ผ่านมาที่มีปัญหา คือ "ฝายแม้ว" เพราะฝายแม้ว เป็นการสร้างลักษณะชั่วคราว เมื่อสร้างแล้วไม่สามารถตรวจสอบได้ ทำลักษณะง่ายๆ นำก้อนหินหรือวัสดุธรรมชาติไปทิ้งๆ ไม่มีแบบแปลนที่เป็นมาตรฐาน สุดท้ายก็ไม่สามารถ
เก็บกักน้ำไว้ได้ พอชำรุดแล้วก็ไม่มีการซ่อมแซม แต่ฝายที่สร้างในครั้งนี้ พิสูจน์แล้วว่าสามารถเก็บกักน้ำได้จริง มีแบบแปลนที่ชัดเจน สำหรับการดำเนินการก่อสร้างฝายจะต้องไม่ให้มีการทุจริตโดยเด็ดขาด ทุกจุดที่มีการดำเนินการสร้างฝาย และปลูกหญ้าแฝก จะมีพิกัด และสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการได้เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบและดูแลร่วมกัน โดยในแต่ละฝายที่สร้างจะมีคณะกรรมการเข้ามาดูแล และต้องสร้างตามแบบของสำนักงบประมาณกำหนด สามารถตรวจสอบได้
ขณะที่ "คุณสุวิทย์ รัตนมณี" อธิบดีกรมป่าไม้ บอกว่า การสร้างฝายแต่ละแห่งจะมี
การตรวจชัดเจนก่อนลงมือการสร้าง โดยการสำรวจจากภาพถ่ายทางอากาศ ว่าตรงจุดไหนเป็นเขา ห้วย และหุบ และสามารถใช้เครื่องมือพีจีเอส เข้าไปจับพิกัดได้เลย และชัดเจนว่าเป็นห้วยจริงๆ หรือเป็นที่เหมาะสมจริงๆจึงจะดำเนินการก่อสร้างฝาย
และถ้าสร้างแล้วต้องได้ผล และประชาชนได้ประโยชน์จากการ
สร้างฝายอย่างแท้จริงในอนาคต กิจกรรมการก่อสร้างฝายถาวรและกึ่งถาวร นอกจากจะดำเนินการในพื้นที่จ.เชียงใหม่แล้ว ยังได้ดำเนินการในพื้นที่จ.ลำปาง และแพร่ด้วย การจัดกิจกรรมในโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ
ตอนบนเกิดความตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของการฟื้นฟูสภาพป่า
นอกจากการสร้างฝายถาวร และกึ่งถาวร ของที่กรมป่าไม้ กำลังดำเนินการนั้น กรมป่าไม้ยังต้องเร่งดำเนินการสำรวจกล้าไม้ ทีมีมีอยู่ภายในหน่วยงานต่างๆของกรมป่าไม้ ที่มีอยู่หลากสายพันธ์ เพื่อนำไปปลูกในลุ่มน้ำต่างๆ ก็ถือเป็น
ความหวังของประชาชนในภายภาคหน้าสืบไป
"คุณโชติ ตราชู" ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกไว้ว่า จากการสำรวจข้อมูลสภาพป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ท่าจีน และป่าสัก ต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสำรวจจากระบบรีโมตเซน พบสภาพที่น่าตกใจว่าสภาพภูเขาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน แพร่ สุโขทัย มีปัญหาการบุกรุกพื้นที่บนเขาตั้งแต่ระดับความสูง 500-1,500 เมตรขึ้นไปเพื่อทำการ
เกษตรเชิงพาณิชย์ โดยคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 3.7 ล้านไร่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ 2 พื้นที่ดังกล่าวเมื่อจำแนกออกมาพบว่าเป็นที่อาศัยของชาวไทยภูเขาหลายเผ่า ทั้งกะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ อาข่า ลีซอ เย้า ลัวะ จีนฮ่อ ปะหร่อง รวมทั้งคนพื้นราบ ทำให้ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับว่าน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้า
พระยาในปี 2554 นั้นเป็นผลโดยตรงจากพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หายไปและถูกเปลี่ยนเป็นพื้นการเกษตร
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" โครงการฟื้นฟูการอนุรักษ์ป่าและดิน รวมถึงการสร้างฝาย และปลูกป่านั้น คงจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้ป่าไม้ และแหล่งน้ำตามธรรมชาติคงอยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลานในภายภาคหน้า ไหนๆก็ผ่านมาที่จังหวัดเชียงใหม่ ร้าน "เฮือนเพ็ญ" เป็นร้านอาหารอีกแห่งที่ผมมีโอกาสมาแวะเวียน
ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่แถว ถนนมรรคา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีอาหารพื้นบ้านแบบล้านนา ชาวเหนือมากมาย สาธยายไม่ถูกเลยจริงๆ วันนี้ลาไปก่อนก็แล้วกัน...!!!
นวย เมืองธน
ภายหลังเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วม "คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนบริหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแนวทางจัดการลุ่มน้ำ 8 แห่ง คือ ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน และเจ้าพระยา ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยจะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการฟื้นฟูป่าไม้ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2555 นโยบายดังกล่าวถูกขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว
ผมหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนถึง เพราะมีโอกาสเดินทางมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ในพิธีเปิดโครงการฟื้นฟูการอนุรักษ์ป่าและดินการทำฝายและวันต้นไม้แห่งชาติประจำปี 2555 ที่บริเวณลุ่มน้ำแม่แตง บ้านศรีดงเย็น หมู่ 5 ต.บ้านช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อไม่นานเท่าไหร่ ซึ่งมี "คุณปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข" รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาเป็นประธานในพิธี โดยมีผู้บริหารกรม กอง จากหลายหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และจากส่วนอื่นๆ พร้อมด้วยประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
"คุณปรีชา" ยังบอกว่า ในการสร้างฝายที่ผ่านมาที่มีปัญหา คือ "ฝายแม้ว" เพราะฝายแม้ว เป็นการสร้างลักษณะชั่วคราว เมื่อสร้างแล้วไม่สามารถตรวจสอบได้ ทำลักษณะง่ายๆ นำก้อนหินหรือวัสดุธรรมชาติไปทิ้งๆ ไม่มีแบบแปลนที่เป็นมาตรฐาน สุดท้ายก็ไม่สามารถ
เก็บกักน้ำไว้ได้ พอชำรุดแล้วก็ไม่มีการซ่อมแซม แต่ฝายที่สร้างในครั้งนี้ พิสูจน์แล้วว่าสามารถเก็บกักน้ำได้จริง มีแบบแปลนที่ชัดเจน สำหรับการดำเนินการก่อสร้างฝายจะต้องไม่ให้มีการทุจริตโดยเด็ดขาด ทุกจุดที่มีการดำเนินการสร้างฝาย และปลูกหญ้าแฝก จะมีพิกัด และสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการได้เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบและดูแลร่วมกัน โดยในแต่ละฝายที่สร้างจะมีคณะกรรมการเข้ามาดูแล และต้องสร้างตามแบบของสำนักงบประมาณกำหนด สามารถตรวจสอบได้
ขณะที่ "คุณสุวิทย์ รัตนมณี" อธิบดีกรมป่าไม้ บอกว่า การสร้างฝายแต่ละแห่งจะมี
การตรวจชัดเจนก่อนลงมือการสร้าง โดยการสำรวจจากภาพถ่ายทางอากาศ ว่าตรงจุดไหนเป็นเขา ห้วย และหุบ และสามารถใช้เครื่องมือพีจีเอส เข้าไปจับพิกัดได้เลย และชัดเจนว่าเป็นห้วยจริงๆ หรือเป็นที่เหมาะสมจริงๆจึงจะดำเนินการก่อสร้างฝาย
และถ้าสร้างแล้วต้องได้ผล และประชาชนได้ประโยชน์จากการ
สร้างฝายอย่างแท้จริงในอนาคต กิจกรรมการก่อสร้างฝายถาวรและกึ่งถาวร นอกจากจะดำเนินการในพื้นที่จ.เชียงใหม่แล้ว ยังได้ดำเนินการในพื้นที่จ.ลำปาง และแพร่ด้วย การจัดกิจกรรมในโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ
นอกจากการสร้างฝายถาวร และกึ่งถาวร ของที่กรมป่าไม้ กำลังดำเนินการนั้น กรมป่าไม้ยังต้องเร่งดำเนินการสำรวจกล้าไม้ ทีมีมีอยู่ภายในหน่วยงานต่างๆของกรมป่าไม้ ที่มีอยู่หลากสายพันธ์ เพื่อนำไปปลูกในลุ่มน้ำต่างๆ ก็ถือเป็น
ความหวังของประชาชนในภายภาคหน้าสืบไป
"คุณโชติ ตราชู" ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกไว้ว่า จากการสำรวจข้อมูลสภาพป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ท่าจีน และป่าสัก ต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสำรวจจากระบบรีโมตเซน พบสภาพที่น่าตกใจว่าสภาพภูเขาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน แพร่ สุโขทัย มีปัญหาการบุกรุกพื้นที่บนเขาตั้งแต่ระดับความสูง 500-1,500 เมตรขึ้นไปเพื่อทำการ
พระยาในปี 2554 นั้นเป็นผลโดยตรงจากพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หายไปและถูกเปลี่ยนเป็นพื้นการเกษตร
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" โครงการฟื้นฟูการอนุรักษ์ป่าและดิน รวมถึงการสร้างฝาย และปลูกป่านั้น คงจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้ป่าไม้ และแหล่งน้ำตามธรรมชาติคงอยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลานในภายภาคหน้า ไหนๆก็ผ่านมาที่จังหวัดเชียงใหม่ ร้าน "เฮือนเพ็ญ" เป็นร้านอาหารอีกแห่งที่ผมมีโอกาสมาแวะเวียน
ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่แถว ถนนมรรคา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีอาหารพื้นบ้านแบบล้านนา ชาวเหนือมากมาย สาธยายไม่ถูกเลยจริงๆ วันนี้ลาไปก่อนก็แล้วกัน...!!!
นวย เมืองธน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น