ผึ้งแห่งนี้ในด้านต่างๆ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2511-2514 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2517 "อำเภอจอมบึง" ถูกประกาศแบ่งพื้นที่ โดยกระทรวงมหาดไทย เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า "กิ่งอำเภอสวนผึ้ง" และหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2526 ได้รับการยกฐานะเป็น "อำเภอสวนผึ้ง" จนถึงปัจจุบัน
แน่นอนครับว่าผมหยิบยกเรื่องราวของ "อำเภอสวนผึ้ง" มาเล่าถึง ก็ด้วยเหตุที่ว่าช่วงเกือบจะปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ที่ "อำเภอสวนผึ้ง" แห่งนี้ ที่สำคัญไม่ได้มาท่องเที่ยว ในลักษณะเพลิดเพลินจำเริญใจอย่างที่หลายคนคิด เพราะการมา
"อำเภอสวนผึ้ง" ครั้งนี้ ถือเป็นการเกาะติดภารกิจ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ที่สนธิกำลังหน่วยทหารจากกรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อำเมืองเมือง จังหวัดราชบุรี และทหารจากหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ รวมถึงฝ่ายปกครอง ตชด.และเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสภ.สวนผึ้ง ในปฎิบัติการเข้าตรวจสอบการบุกรุกยึดครองพื้นที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ ของกลุ่มนายทุน และผู้มีอิทธิพล
เช้าตรู่เวลาประมาณเกือบ 6 โมงเช้า ของวันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา ผมและสื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่างๆ ได้ถูกนัดหมายมารวมพลกันที่หน้า "กรมสอบสวนคดีพิเศษ" ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อร่วมไปกับคณะของดีเอสไอ ติดตามภารกิจในครั้งนี้ ในขณะที่เดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี ผมเลยถือโอกาสนี้ล่ะนอนหลับพักผ่อน เพราะคืนก่อนจะเดินทางกว่าจะได้นอนก็เกือบจะตีสอง
หลังจากนอนหลับพักผ่อนบนรถตลอดการเดินทาง ชั่วอึดใจเดียวก็เดินทางมาถึงกรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พักดื่มกาแฟ กินอาหารเช้า กันในค่ายทหารนั่นล่ะ จากนั้นจึงมารวมพลกัน ที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง สมทบกับกำลัง
จุดแรกที่เข้าไปตรวจสอบ เป็นพื้นที่ราชพัสดุบริเวณหน้าศูนย์พักพิงบ้านถ้ำหิน หมู่ที่ 5 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง ที่ถูกระบุว่ามีการเข้าบุกรุกยึดครองทำสวนยางพาราหลายร้อยไร่ "พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล" ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) บอกว่า ที่ดินตรงจุดนี้ แต่เดิมเป็นที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งทำประโยชน์ในที่ดินบริเวณที่ราบเชิงเขา เนื้อที่
ประมาณ 13 ไร่ ต่อมาเมื่อประมาณ 4 – 5 ปี ที่ผ่านมา "นายวันชัย กาญจนเพ็ญ" รองประธานสหกรณ์ผู้ปลูกสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดราชบุรี ได้เข้ามาซื้อที่ดินดังกล่าว และบุกรุกเพิ่มเติมขึ้นไปบนภูเขารวมเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ จากนั้นได้ทำการแผ้วถางและเผาป่าในพื้นที่ และได้นำพื้นที่ดังกล่าวไปปลูกยางพาราเต็มพื้นที่ มีการทำบ่อพักน้ำก่ออิฐถือปูนบนยอดเขา มีการลงทุนนำท่อพีวีซีมาต่อเพื่อนำน้ำเข้าไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูก มีการตัดทางขึ้นภูเขาเพื่อให้รถยนต์สามารถเข้าพื้นที่ได้โดยสะดวก
การกระทำดังกล่าวทำให้พื้นที่เขา ซึ่งเป็นที่ดินที่ราชพัสดุและเป็นที่ดินของรัฐ ถูกยึดถือครอบครองและทรัพยากรป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางทำลาย
ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้านี้ "นายวันชัย" ได้ยื่นคำขอเช่าพื้นที่ แต่กรมการทหารช่าง ซึ่งเป็นผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ รวมทั้งธนารักษ์พื้นที่ราชบุรี ไม่อนุญาตให้เช่าพื้นที่ดังกล่าว อีกทั้งผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ได้มีหนังสือห้ามบุกรุกในพื้นที่ดังกล่าว แต่ "นายวันชัย" ก็ยังคงฝ่าฝืนบุกรุกอย่างต่อเนื่องตลอดมา นอกจากไม่ยอมออกแล้ว ยังได้นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเพาะปลูกยางพาราจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ "นายวันชัย" ยังได้เข้ามาซื้อที่ดินบริเวณบ้านพุว่าง หมู่ที่ 5 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง ไม่กี่ไร่ แล้วบุกรุกเพิ่มเติมขึ้นไปบนภูเขารวมเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่
ส่วนจุดที่สอง ได้เข้าตรวจสอบที่ดินบริเวณหุบพุบอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี พื้นที่ยื่นขอเช่าประมาณ 1,500 ไร่ ซึ่งเป็นที่ราบประมาณ 690 ไร่และเป็นที่ภูเขาประมาณ 800 ไร่ "พ.ต.ท.ประวุธ" บอกว่า พื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี 2532 ตำรวจกองปราบปราม ได้เคยจับกุมผู้บุกรุกตัดไม้ทำลายป่า จำนวน 52 คน ซึ่งหลังจับกุมไม่กี่วัน นักการเมือง และเป็นอดีตรมช.ศึกษาธิการ รายหนึ่ง
ได้ยื่นหนังสือขอเช่าพื้นที่ดังกล่าวจากธนารักษ์พื้นที่ราชบุรี แต่จากการตรวจสอบไม่พบว่ามีการอนุมัติให้เช่าพื้นที่ดังกล่าว
ต่อมาในปี 2550 "นายสมพงษ์ ชวาลตันพิพัทธ์ " บิดาอดีตรมช.ศึกษาธิการ ได้ขายพื้นที่ดังกล่าวให้กับ "นางสุชา กลีบบัว" ภรรยาอัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับพวก ซึ่งต่อมาภายหลัง"นางสุชา" ถูกยิงเสียชีวิต
โดยมีการทำสัญญาซื้อขายกัน แต่ภายหลังได้เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างกันเมื่อ "นางสุชา" กับพวก ได้ยื่นเรื่องขอเช่าพื้นที่จากธนารักษ์พื้นที่ราชบุรี ก็ได้รับการคัดค้านจาก "นายสมพงษ์" และอ้างสิทธิการครอบครองโดยยึดถือหนังสือคำขอเช่าพื้นที่ของ "อดีตรมช.ศึกษาธิการ" บุตรสาว ซึ่งทั้งราย "นางสุชา" กับพวก และ "นายสมพงษ์" กรมการทหารช่าง ซึ่งเป็นผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในพื้นที่และธนารักษ์พื้นที่ราชบุรี ไม่อนุญาตให้มีการเช่าพื้นที่ดังกล่าว และมีหนังสือให้ "นายสมพงษ์" ออกจากพื้นที่ โดยพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกแผ้วถาง และทำลายทรัพยากรป่าไม้ไปเป็นเนื้อที่ประมาณ 690 ไร่ ทำให้รัฐได้รับความเสียหายถูกยึดถือครอบครองที่ดินและทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย
ส่วนปมความขัดแย้งในการซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าว ระหว่าง "นายสมพงษ์ และ "นางสุชา" ที่ถูกยิงเสียชีวิต "พ.ต.ท.ประวุธ" ระบุว่า เรื่องนี้ได้ถูกนำมาพิจารณาเป็นประเด็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดการฆาตกรรม "นางสุชา" โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเรื่องการเสียชีวิตของ "นางสุชา" เป็นคดีพิเศษอีกส่วนหนึ่ง เบื้องต้นศาลจังหวัดราชบุรี ได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก "นายชัชวาลย์ หรือติ เกิดเกียรติกุล" ผู้ทำการชี้เป้ายิง "นางสุชา" เป็นเวลา 33 ปี เมื่อปลายปี 2554 ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะได้รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อนำผู้กระทำผิดที่ใช้ จ้าง วาน มาดำเนินคดีตามกฎหมาย
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อสาวถึงผู้บงการสังหาร "นางสุชา" ของดีเอสไอนั้น ถือเป็นคดีที่รอการพิสูจน์ และชวนติดตามอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นคดีสะเทือนขวัญ และอาจเกี่ยวพันโยงใยกันในหลายมิติ การมาตะลอนฯ ของผมในครั้งนี้ นอกจากจะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ แล้ว แถมยังกินอาหารมื้อเที่ยง (ข้าวกล่อง) ช่วงแดดเปรี้ยงๆ ท่ามกลางป่าเขา ลำเนาไพร มองไปเห็นภูเขาหัวโล้น จากฝีมือมนุษย์ ก็ถือว่าได้บรยากาศพอสมควร หรืออาจเป็นเพราะว่าหิวก็ไม่ทราบได้ แต่ถ้าผ่านมาจังหวัด
ราชบุรี อยากกินอาหารในบรรยากาศแบบคาวบอย...คาวบอยยยย..!
ผมคงต้องแนะนำ "คาวบอย คาเฟ่" ร้านดังของจังหวัดราชบุรี เป็นร้านอาหารไทย-อเมริกัน ตั้งอยู่ตรงถนนเพชรเกษม กม.ที่ 108 เลยทางเลี่ยงเมืองราชบุรีมาประมาณ 1.5 กิโล หน้าร้านมีป้ายชื่อตั้งเด่นอยู่ริมทาง ร้านจะเปิดประมาณ 11 โมง และปิดประมาณ 5 ทุ่ม อาหารที่เป็นเมนูแนะนำ ก็มีหลากหลายเมนู ทั้ง กุ้งทอดซอสมะนาว เพราะว่ากรอบอร่อย กะหล่ำปลีสินสมุทร ที่แม้ว่าหน้าตาจะดูธรรมดาสุดๆ แต่รับรองว่าอร่อย และอื่นๆอีกเพียบ...พื้นที่วันนี้หมดขอลาไปก่อนก็แล้วกัน...!!!!
นวบ เมืองธน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น