ตะลอนตามอำเภอใจ- "Abstract Art“ หรือศิลปะนามธรรม เป็นการประกอบกันขึ้นจากรูปทรง (Form) และสี (Color) ซึ่งสิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่เพื่อการแสดงออกถึงตัวตนของมันเอง และเป็นศิลปะที่ไม่ได้เป็นการพรรณนารูปลักษณ์ของวัตถุ ฉาก เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ

บิสม์ (Cubism) ศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม (Abstract Expressionism) และ ลัทธิเหนือจริง (Surrealism) เป็นต้น ท่ามกลางความหลากหลายของรูปแบบศิลปกรรมที่กล่าวมา ในตอนปลายทศวรรษ 2500 ถึงกลางทศวรรษ 2510 รูปแบบการสร้างสรรค์งานที่ได้รับความนิยมสูงสุด เห็นจะหนีไม่พ้น "งานแบบนามธรรม"
ผมหยิบยกเรื่องราวของศิลปะมาพูดถึง เพราะเมื่อช่วงปลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ก.ค.54) มีโอกาส"ตะลอนตามอำเภอใจ"
ไปร่วมงานเปิดนิทรรศการศิลปะ “นาม-ไร้รูป” นิทรรศการประติมากรรมรูปแบบนามธรรม ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ที่นำเสนองานประติมากรรมรูปแบบนามธรรม ของศิลปินแห่งชาติและศิลปินชั้นเยี่ยม 4 ท่าน ผู้สร้างสรรค์งานนามธรรม โดยเป็นการนำเสนอผลงานจากยุคทองของศิลปะนามธรรมในประเทศไทย ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2500 อาจารย์ ชำเรือง วิเชียรเขตต์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ด้านประติมากรรม ประจำปี พ.ศ. 2539) อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศน
ศิลป์ ด้านประติมากรรม ประจำปี พ.ศ. 2549) อาจารย์อินสนธิ์ วงศ์สาม (ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ด้านประติมากรรม ประจำปี พ.ศ. 2542) และอาจารย์เข็มรัตน์ กองสุข (ศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาทัศนศิลป์ ด้านประติมากรรม ประจำปี พ.ศ. 2538)
สำหรับนิทรรศการนี้มีพื้นฐานมาจากกรณีศึกษาประติมากรรมนามธรรมของประติมากรสมัยใหม่ของไทยจากผลงานวิจัยของ ผ.ศ. ทักษิณา พิพิธกุล ผู้ศึกษาผลงานและแนวความคิดของศิลปินอาวุโสทั้ง 4 ท่านที่กล่าวมาแล้ว นิทรรศการจึงเป็นการนำเสนอเรื่อง
ราวอันเกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์งานที่แตกต่าง ตั้งแต่ที่มาความคิด การศึกษาคุณลักษณะทางนามธรรมต่างๆ ของศิลปิน อันเป็นการลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นแล้วสกัดออกให้เหลือเฉพาะแก่น การตีความหมายทางความรู้สึกสู่การสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ การสื่อสารภาษาแบบนามธรรมของศิลปินแต่ละท่านเหล่านี้ก่อให้เกิดการซึมซับผลงานประติมากรรมที่เน้นรูปทรงซึ่งมีความเป็นสากล และในขณะเดียวกันอ้างอิงต่อทัศนคติและภูมิหลังเฉพาะตนที่แตกต่าง ผลงานของศิลปินแต่ละท่านมีการสร้างสรรค์และสื่อสารอย่างหลากหลาย
เผยให้เห็นปริมาตรซึ่งมีการเกาะเกี่ยวและขับเคลื่อนกันอยู่ภายใน
นอกจากนี้ จุดประสงค์ของนิทรรศการ ยังต้องการสื่อให้เห็นว่าการสร้างสรรค์
ในช่วงที่ได้เดินชมงานประติมากรรมนามธรรม ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับ
"อาจารย์นนทิวรรธน์" ถึงแนวคิดเกี่ยวกับงานที่ท่านนำมาแสดงในนิทรรศการ ครั้งนี้ เพราะงานหลายชิ้นของอาจารย์ฯ นั้น ผมยิ่งดูก็ยิ่งอิ่มเอิบเบิกบานใจ และสัมผัสได้ถึงธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่เปรียบเสมือนผู้สร้างสรรงาน ได้คลุกคลีสัมผัสธรรมชาติจนทะลุปุโปร่ง แล้วนำมาบอกกล่าวผ่านงาน"ศิลปะ นามธรรม" ด้วยเหตุนี้ ผมจึงถาม "อาจารย์นนทิวรรธน์" ว่าในเรื่องของธรรมชาติ มีส่วนเป็นแรงบันดาลใจให้มากน้อยแค่ไหนในการสร้างสรรงานศิลปะ
อาจารย์ฯ บอกว่า "ธรรมชาติ" มีส่วนอย่างมาก
เพราะตัวเองนั้นเคยเป็นชาวสวนมาก่อน ขณะอยู่ในสวนก็ได้ดูต้นไม้ พลัดใบ แตกใบอ่อน เวลาต้นไม้ออกผล และออกดอก มันให้ความรู้สึกงดงาม ความารู้สึกเบิกบาน ความรู้สึกเต็มอิ่มกับเรา แม้ความารู้สึกขณะนั้นอาจยังไม่เป็นรูปแบบ และยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นความรู้สึกที่เรารู้สึกยินดีกับมัน ครั้งเมื่อมาเจอรูปแบบอย่างนี้ มันตรงกับความรู้สึกในใจเรา ก็เลยพยายามถ่ายทอดมันออกมาสะท้อนออกมาเป็นงานศิลปะ
ปริมาตร รูปทรงมาสื่อความหมาย ก็ลบรายละเอียดต่างๆออกไป และก็ได้รูปทรงออกมาที่ให้ความรู้สึกอิ่มสมบูรณ์ เบิกบาน โดยงานที่สร้างนั้นจะเน้นเรื่องของการตอบสนองทางอารมย์เป็นหลัก และจริงๆแล้วก็อยู่ในจุดมุ่งหมายของการทำงาน เวลาต้องการความรู้สึกอะไร ก็ต้องสร้างรูปทรงให้มันสื่อความหมายตรงนั้น ไม่จำเป็นว่าเมื่อใช้รูปคนแล้วจะตองมีกล้ามเนื้อจากจุดตรงนี้ทำให้ตนเองรู้สึกดีใจว่า ได้พบมิติใหม่ในการสร้างสรรปฏิมากรรมในแนวนามธรรมแล้ว
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489 ที่ตำบลวัดท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายจำนง และ นางทวีศรี จันทนะผะลิน มีความสนใจในการสร้างสรรค์งานแบบนามธรรมมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 หรือ ตั้งแต่ได้เข้าศึกษาศิลปะที่โรงเรียนช่างศิลป์ จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 ท่านได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเป็นช่วงเวลา 3 ปี หลังจาก การมรณกรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี การศึกษาในชั้นปีที่ 1–3 เป็น
การสร้างประติมากรรมรูปคนโดยการศึกษาจากแบบคนจริง และเมื่อศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 4 หรือในช่วงปี พ.ศ. 2511
สำหรับนิทรรศการประติมากรรมรูปแบบนามธรรม “นาม-ไร้รูป” จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ตั้งวันนี้ จนถึงวันที่ 18 กันยายน 2554...!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น