วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

สุขกายสบายใจ รฝช.ส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพ

มัยโบราณนั้นวิธีการตัดผมของชาวสยาม
จะใช้ตะไกรไทยเป็นอุปกรณ์หลักๆในการตัดผม คือ ช่างตัดผมชาย ก็จะมีตะไกรเล่มหนึ่ง มีดโกนจีนเล่มหนึ่ง หวีเล่มหนึ่ง ขีผึ้งดำสำหรับติดผมตลับหนึ่ง น้ำมันตะนีโถหนึ่ง  ส่วนช่างตัดผมผู้หญิง ก็มีตะไกร มีดโกน กระจก หวี ขีผึ้งดำ น้ำมันตะนี ฯลฯ


ซึ่งสมัยก่อนช่างตัดผมไม่ได้ตั้งร้านตัดประจำอยู่กับที่เหมือนในปัจจุบัน ช่างผู้ชายชอบใช้ห่อผ้าหรือล่วม ส่วนช่างผู้หญิงใช้ใส่กะโล่ หรือ
กระทายเที่ยวเดินไป แล้วแต่ใครจะเรียกให้ตัด สมัยนั้นผู้ชายตัดผม 2 แบบ คือ ผมมหาดไทย  ขุนนางและราษฎรในเวลานั้นนิยมตัดผมมหาดไทยกัน ส่วนผมรองทรงนั้นท่านที่มีบรรดาศักดิ์จะนิยมตัดกัน (ขอขอบคุณข้อมูลจากโลกออนไลน์)
         ไหนๆก็ร่ายถึงเรื่องการตัดผมแล้ว เมื่อเร็วๆนี้มีโอกาสมา “ตะลอนตามอำเภอใจ“ ที่งานโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพของกลุ่มโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร โดยสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ณ รฝช.หลวงพ่อทวีศักดิ์ เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ภายในงานนอกจากมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้แล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพต่างๆมากมาย มีบริการนวดฟรี และบริการตัดผมสุภาพสตรีฟรี
ช่วงสุดท้ายของ “ตะลอนตามอำเภอใจ“ ส่วนบริการตัดผมชายฟรี ก็มี“อ.ศศิวิมล โชติชัยกุล“ อาจารย์แผนกตัดผมชาย รฝช.หลวงพ่อทวีศักดิ์ และ “อ.อุมาภรณ์ โตอนันต์“ อาจารย์แผนกตัดผมชาย รฝช.บางรัก และอาจารย์ท่านอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยนาม ที่นำนักเรียนมาบริการตัดผมฟรีภายในงานครั้งนี้ รวมถึงแผนกอื่นๆของรฝช.หลายแห่งที่มาร่วมจัดกิจกรรมกัน แม้อากาศจะร้อนขนาดไหนแต่ก็ยังสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนที่มาใช้บริการได้อย่างน่ายินดีทีเดียว แน่นอนว่างานนี้ผมจึงไม่พลาดที่จะแจมตัดผมให้ประชาชนด้วย..สุขกาย สบายใจจริงๆ…!!!
                                 “นายตะลอน“

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

เดินทอดน่องชมงาน แข่งขันชิงแชมป์ผม

วามงามความหล่อของคุณสุภาพสตรี และคุณสุภาพบุรุษ โดยเฉพาะเรื่องของทรงผมนั้นในยุคปัจจุบัน ถือว่าโดดเด่นกันพอสมควร และยังเชื่อมโยงไปถึงช่างตัดผมที่จะต้องมีไสตล์เป็นของตัวเอง ไม่เพียงแต่มีฝีมือในการตัดผมเท่านั้น การแต่งการ การตกแต่งร้าน ก็ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ นับเป็นการตื่นตัวของคนในวงการช่างผมไทยทั้งบาร์เบอร์และซาลอน ฯลฯ
ช่วงกลางๆสัปดาห์ที่ผ่านมา (13 มี.ค.) มีโอกาสมา “ตะลอนตามอำเภอใจ“ ที่งาน Bangkok International Hair Show 2019)  เซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งจัดโดย hair magazine ภายในงานมีการแข่งขันจากช่างผมนานาชาติ ชิงแชมป์ผม การประกวดผมชาย และรายการบันเทิงต่างมากมาย
ช่วงสุดท้ายของ “ตะลอนตามอำเภอใจ“ นอกจากนี้บรรยากาศภายในงานยังมีการออกบูธสินค้าต่างๆที่เกี่ยวกับด้านเสริมสวย และอุปกรณ์บาร์เบอร์มากมาย ส่วนการรีวิวสินค้าต่างๆก็ถือเป็นสีสันที่ดึงดูดผู้คนได้อย่างดีทีเดียว…!!!
                                  นายตะลอน


วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

ท่องเที่ยววิถีลำคลอง กระตุ้นรักษ์สิ่งแวดล้อม

ายน้ำคลองพริ้วไหวตามแรงลม ฝูงปลาเริงรื่นดูเพลินตา เรือยนต์พาสายน้ำกระทบฝั่ง แสงแดดสาดส่องระยิบระยับมองแล้วสุขใจ“
บ่อยครั้งที่ผมมานั่งมองสายน้ำลำคลองเพื่อผ่อนคลายสมองเพลินๆ และบ่อยครั้งที่เห็นวิถีผู้คนสองฝั่งคลองแล้วเกิดแรงบันดาลใจในการนึกอยาก
ลงมือทำสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือ และการทำงานศิลปะ แม้กระทั่งไปตัดผมให้คนในเรือยนต์ที่แล่นอยู่กลางลำคลอง
สำหรับคลองต่างๆในประเทศไทย เมื่อสมัยก่อนเป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำหลักของผู้คน แต่ปัจจุบันเริ่มใช้ลดน้อยลง
เนื่องจากมีถนนและทางรถไฟเพิ่มขึ้น
ทำให้การใช้คลองในการสัญจรไปมาน้อยลง คลองในหลายๆพื้นที่จึงมีกิจกรรมต่างๆเกิด
ขึ้น โดยเฉพาะการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง
         ในวันที่แดดร่มลมตกตอนเย็นๆผมมีโอกาสมา“ตะลอนตามอำเภอใจ“ นั่งชมวิถีผู้คนที่คลองบางระมาด ย่านถนนแก้วเงินทอง ซอย 49 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ แล้วได้พูดคุยกับ “จารย์บุ้ง-ชนม์บวร นิยะโมสถ“ หรือจะเรียก“ลุงบุ้ง“
ก็ได้เพราะแกเป็นคนเก่าแก่ในย่านนี้อยู่กับลำคลองย่านนี้ตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ ปัจจุบันแกมีกิจการเล็กๆมีเรือคายัคให้นักท่องเที่ยวเช่าพายในลำคลอง และบริการเรือยนต์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมสัมผัสกลิ่นไอวิถีตามลำคลองต่างๆไม่เฉพาะแต่ภายในคลองบางระมาดอย่างเดียว
ซึ่ง“จารย์บุ้ง“ เล่าว่าคลองต่างๆในย่านนี้สามารถเชื่อมถึงกันหมดเหมือนถนน และแต่ละคลองก็มีเรื่องราวความน่าสนใจที่อยากให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสและเรียนรู้วิถีผู้คนในลำคลอง อย่างคลองชักพระ หรือ คลองบางขุนศรี ก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน คลองบางเชือกหนัง คลองบางระมาด ก็เป็นชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ที่มีอายุมากกว่า 500 ปี ส่วนคลองบางหลวง ก็ยังเป็นแหล่งที่ยังอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยอยู่
ช่วงสุดท้ายของ “ตะลอนตามอำเภอใจ“ “จารย์บุ้ง“ บอกด้วยว่า สองฝั่งคลองนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เห็นวิถีผู้คนแล้ว ยังได้เห็นพืชสวนต่างๆ หรือจะไปทำบุญไหว้พระก็มีวัดต่างๆริมคลองหลายแห่ง รวมถึงตลาดน้ำต่างๆอย่างตลาดน้ำคลองลัดมะยม ซึ่งหากนักท่องเที่ยวมาเช่าเรือคายัคพายในราคา 350 บาท จะพายกี่ชั่วโมงก็ได้ และหากสามารถเก็บขยะที่ลอยในลำคลองกี่ชิ้นก็ได้มา เราลดให้ 100 บาท เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สายน้ำลำคลองด้วย
ส่วนใครชอบพายเรือคายัค ท่องเที่ยวลำคลอง ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Boong Bar หรือ Bangkok Kayak Clop  โทร.089-9247313 Line id : boong dee หรือ FB. Boong Chonborrorn Niyamosatha

                                  “นายตะลอน“