วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เก็บใบมะดันอ่อน ความแซ่บบังเกิด

                  "ะดัน" เป็นพืชผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และนำมาปรุงแต่งรสอาหารได้อย่างมากมาย ส่วนสรรพคุณของมะดันก็หลากหลายจริงๆ ราก เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไข้ทับระดู ขับฟอกโลหิต ขับเสมหะในลำคอ แก้กระษัย แก้ไข้หวัด ฯลฯ เปลือกต้น แก้ไข้ทับระดู แก้โลหิตระดู ใบ แก้หวัด แก้ไอ แก้กระษัย แก้เสมหะพิการ รกมะดัน แก้หวัด แก้ไข้ทับระดู และขับฟอกโลหิต ผล สามารถล้างเสมหะ แก้สอเสมหะ กัดเสมหะ ฟอกโลหิต แก้ไอ แก้ประจำเดือนพิการ
          นอกจากนี้ ยังสามารถนำผลมะดันและใบอ่อนมารับประทานสดหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่วนของใบอ่อนที่ใช้สำหรับประกอบอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยวแบบธรรมชาติ ประเภทต้มส้มหรือต้มยำต่างๆ
   มะดัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana pierre เป็นวงศ์เดียวกันกับมังคุด และเป็นไม้ผลที่พบได้ในทุกภาค แต่พบปลูกมากในภาคกลาง
  ผมหยิบยกเรื่องราวของ "มะดัน" มาเขียนถึง นอกจากจะบอกเล่าว่ามะดันมีสรรพคุณทางยา และนำ
มาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายแล้ว ซึ่งการ "ตะลอนตามอำเภอใจ" ครั้งหนึ่งของผมนั้นมีโอกาสปีนป่ายขึ้นไปเก็บใบมะดันอ่อนๆ ที่กำลังแตกใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาลไหม้น่ากินทีเดียว ถามว่าจะเอาใบมะดันอ่อนมากินกับอะไรดี ก็อย่างที่บอกใบมะดันอ่อนจะนำไปแกงส้มผักบุ้ง ปลาสวาย ใส่ใบมะดันก็ได้ ทำแกงขาหมูใบมะดันก็เด็ดน่ะ แกงหมูใบมะดันก็โอเค คล้ายๆ แกงหมูใบชะมวง แต่ใส่ใบมะดันแทนครับ
     ส่วนใบมะดันอ่อนที่ผมเก็บมาในวันนี้ คงไม่ได้นำไปแกง หรือทำอะไรให้ยุ่งยากอะไรนัก และเพื่อความง่ายต่อการรับประทานขอกินสดๆ แกล้มกับ "ลาบปลาดุก" พอดีที่บ้านวันนั้นมีลาบปลาดุก แล้วก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ใบอ่อนมะดัน เป็นผักที่กินเข้ากันดีกับลาบปลาดุกอย่างออกรสชาติทีเดียว ทำให้เกิดอรรถรสในการกินเพิ่มมากขึ้น เพราะใบอ่อนมะดันจะออกรสเปรี้ยว แต่ก็ไม่มากมายนัก ตักลาบปลาดุกเข้าปาก แล้วหย่อนใบมะดันเข้าปากทีละใบหรือสองสามใบก็ได้ มันเป็นอะไรที่ฟินมากมายจริงๆ
      ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" 
"ลาบปลาดุก" เป็นอาหารประเภทลาบชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อของภาคอีสาน ปัจจุบันทำกินกันทุกภาค เนื้อปลาดุกมีรสหวานมัน เป็นปลาไม่มีเกร็ด ก้างน้อย จึงนิยมนำมาทำลาบปลาดุก กินกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวยก็อร่อยเหลือหลายทีเดียว ส่วนขั้นตอนการทำ "ลาบปลาดุก" ก็นำปลาดุกหนัก 300 กรัม 1 ตัว ข้าวคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ พริกป่น 1 ช้อนชา ข่าหั่นฝอย 1 ช้อนชา หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนชา ต้นหอม 2 ต้น กะหล่ำปลี 1 หัว ถั่วฝักยาว 5 ฝัก ใบโหระพา 2 กิ่ง ใบสะระแหน่เด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย น้ำมะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนขั้นตอนและวิธีทำลาบปลาดุก ทำการขูดเมือกบนผิวปลาดุกออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อสับหยาบๆ เคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่วป่น พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย ใบมะกรูดหั่นฝอย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอมซอย ชิมรสตามใจชอบ จากนั้นก็นำมาเสริฟกินกับผักต่างๆ อาทิ กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา หรือใบมะดันอ่อนก็สุดยอดจริงๆ...!!!
                                                                                                               นายตะลอน

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ช้อปชิวๆ แนววินเทจ ค้นหาของเก่ามีสไตล์

             ระแสย้อนยุคของเก่า หรือวินเทจ (Vintage) ดูเหมือนในปี 2018 ยังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจากปีที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะเรื่องราวของแฟชั่นต่างๆ เสื้อ กางเกง รองเท้า รวมทั้งทรงผม งานศิลปะ รถยนต์ และของตกแต่งบ้าน ตกแต่งร้านอาหาร ฯลฯ
ซึ่งแฟชั่นแนววินเทจมีการนิยามว่าคล้ายการบ่มหมักไวน์ที่ยิ่งเก่าก็ยิ่งแพง โดยเฉพาะการแต่งบ้านแนววินเทจ ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง เพราะสิ่งของต่างๆ ผ่านกาลเวลามานาน จึงมีคุณค่าในตัวเอง ทำให้คนรุ่นหลังอยากเก็บสะสมเอาไว้ บางอย่างมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้มีคุณค่าทางจิตใจ มีความงามในห้วงเวลาที่ผ่านมา สำหรับคนที่ชื่นชอบแนวนี้ จะรู้สึกมีความสุขและสนุกอย่างมาก ในการนำของวินเทจมาประยุกต์ตกแต่งให้ดูสวยงามไม่ซ้ำใคร ทำให้สิ่งนั้นเกิดคุณค่าทางด้านจิตใจของผู้เก็บสะสมไว้
เย็นๆ วันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีฝนโปรยปรายนิดนึง เล่นเอาบรรดาพ่อค้า แม่ค้า ที่จตุจักรเพลย์กราวน์ ตึกบางซื่อจังชั่น หรือตึกแดง ตรงข้ามกับตลาดนัดจตุจักร ต้องผวาน้ำจากฟ้านิดหน่อย แต่สำหรับนักช้อปผู้หลงใหลสิ่งของแนววินเทจแล้ว ดูเหมือนในวันนั้นจะคึกคักกันพอสมควร ในการเดินหาสิ่งของที่ตัวเองชื่นชอบอย่างเพลิดเพลินและมีความสุขกันถ้วนหน้าที่ได้เห็นของเก่าเก็บมากมายวางเรียงรายตามร้านค้าต่างๆ
          จตุจักรเพลย์กราวน์ เป็นแหล่งรวมของเก่ากลางเมือง ที่ผมมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" เดินชิวๆ ในวันนั้น ก็เลยถือโอกาสนำภาพและเรื่องราวนิดๆ หน่อยๆ มาบอกเล่าสู่กันฟัง สำหรับตลาดแห่งนี้ ส่วนมากสินค้าต่างๆ จะเป็นของเก่าและของสะสมที่หลากหลาย มีทั้งของเล่น ตุ๊กตา ของใช้ ของสะสม จนถึงเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ทั้งของในไทยและต่างประเทศ ซึ่งของสะสมบางชิ้นอาจจะซื้อได้ในราคาถูกกว่าที่อื่น เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าส่วนมากเป็นนักเล่น นักสะสม
อยู่ในแวดวงของเก่ากันมานาน
            แน่นอนว่าของเก่าสะสมแนววินเทจมักควบคู่กับสไตล์การแต่งบ้านที่หลายๆ คนอาจมีความชื่นชอบที่ไม่เหมือนกัน อาทิ ตัวผมเองชอบโทนสีขาว ก็อาจจะนำของแนวเก่าๆ มาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล มีเสน่ห์และความคลาสสิกแบบวินเทจผสมอยู่ ด้วยเหตุนี้การจะหาของเก่าสักชิ้น หรือหลายๆ ชิ้น เพื่อนำไปตกแต่งบ้านในสไตล์ที่เราชอบนั้น มันจึงเป็นการค้นหาสิ่งของนั้นๆ ที่จะตอบโจทย์ทางใจของเราเอง ที่สำคัญเราจะค้นพบมันหรือเปล่าในวันนี้ แต่ที่แน่นอนที่สุด ทุกย่างก้าวที่เราเดินดูของอยู่นั้น เราจะเพลิดเพลินกับการย้อนเวลาที่ได้เห็นศิลปะวัฒนธรรมในอดีต โดยผ่านสิ่งของที่บรรดาพ่อค้า แม่ค้า นำของเก่าเก็บต่างๆ มาวางเรียงรายให้เห็น จนบางครั้งเราแทบไม่อยากกะพริบตาเลยก็ว่าได้
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" จริงๆ แล้วสไตล์วินเทจไม่จำเป็นต้องใช้แต่ของเก่ามาตกแต่งเพื่อให้ได้ความรู้สึกย้อนยุคเสมอไป สมัยนี้มีการประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาใหม่ โดยให้ชิ้น
งานที่มีความละเมียดละไมแบบของเก่า ซึ่งนำมาตกแต่งผสมผสานกับของชิ้นเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้วได้อย่างหลากหลายจินตนาการ ทำให้กระแสโบราณย้อนยุคมีเสน่ห์น่าค้นหาอย่างมาก โดยเฉพาะการนำเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้เก่าๆ มาเป็นส่วนประกอบในการตกแต่งบ้าน เพื่อเพิ่มความสวยงาม ทำให้เกิดอารมณ์คลาสสิก เพราะเฟอร์นิเจอร์วินเทจที่ทำจากไม้เก่าๆ แล้วนำมาประยุกต์ตกแต่งบ้านด้วยดีไซน์อย่างลงตัว จะทำให้บ้านของเรามีสีสันวินเทจ และสะท้อนเรื่องราวเสน่ห์ความเก่าน่าค้นหาได้อย่างมิรู้ลืม...!!!
                          นายตะลอน

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ท่องเที่ยวบ้านบาตร เสน่ห์ชุมชนโบราณ

            ายลมพัดเย็นโดนใบหน้า อากาศไม่ร้อนมาก การนั่งรถโดยสารไม่มีแอร์ จึงไม่เป็นอุปสรรคในการเดินทางของผมในวันนี้ เพราะอากาศไม่ร้อนมาก พอที่จะใช้ความคิดได้ราบรื่นเพลินๆ ชิวๆ ในการเดินทางมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ย่านชุมชนบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ นะ
            โดย "บาตร" ถือเป็นภาชนะใส่อาหารสำหรับพระภิกษุสามเณร และเป็นของใช้อัฐบริขารของพระสงฆ์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก ปัจจุบันมีการผลิตบาตรพระหลายรูปแบบ แต่บาตรที่มีลักษณะตรงตามหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี 2 ชนิดคือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็กรมดำ ซึ่งมีขนาด 7-11 นิ้ว โดยมีบัญญัติห้ามไม่ให้พระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากโลหะหรือวัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ทองแดง อัญมณี และแก้วผลึกต่างๆ แม้แต่บาตรที่ทำจากดีบุก สังกะสี หรือไม้ ก็ใช้ไม่ได้ ต่อมาจึงอนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลสได้ เพราะสะดวกในการดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย
        สำหรับย่านชุมชนบ้านบาตร ที่ผมมีโอกาสมาเยือนครั้งนี้ บางประวัติบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์จะให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางอาณาจักร ด้วยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่มั่งคั่งสมบูรณ์ไม่แพ้กรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านที่อพยพมาจากกรุงเก่าและชาวบางกอกเดิมต่างก็ต้องปรับตัวให้ตนอยู่รอดมากที่สุด ดังนั้นชุมชนเดิมที่รวมกลุ่มเป็นหมู่บ้านแบบเฉพาะถิ่น อาทิ กลุ่มชาวนา กลุ่มพ่อค้า กลุ่มชาวจีน ชาวญวน หรือแม้แต่กลุ่มอาชีพเดิมก็ถูกรื้อฟื้นให้มีขึ้น เช่น ที่ถนนบำรุงเมืองหลังวัดสระเกศ ใกล้กับเมรุปูนมีซอยย่อยที่ตั้งใกล้กันอยู่ยาวทั่วทั้งถนน ในอดีตนั้นถนนแห่งนี้เคยเป็นแหล่งชุมชนคนทำกินที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ตลอดทั้งปี
   นอกจากนั้นยังมีคำบอกเล่าว่า ชาวกรุงศรีอยุธยาได้รวมกันมาอยู่ที่ตรอกบ้านบาตรจนกลายเป็นชุมชน ซึ่งผู้มีฐานะมักนิยมสร้างวัด ทำให้มีวัดในกรุงเทพฯ จำนวนมาก และในชุมชนแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านทำบาตรพระ และประกอบอาชีพนี้มานานกว่า 100 ปีแล้ว
            ส่วนขั้นตอนการทำบาตร ประกอบด้วยการทำขอบบาตร ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการทำบาตรพระ เนื่องจากขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนดว่าบาตรใบนั้นจะมีขนาดและรูปทรงอย่างไร การประกอบกง ช่างจะตัดแผ่นเหล็กเป็นรูปกากบาท ซึ่งเรียกว่า "กง" จากนั้นจึงดัดงอขึ้นรูปแล้วนำมาติดกับขอบบาตรการแล่น คือการเชื่อมประสานรอยตะเข็บให้เหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ผงทองแดงกับน้ำประสานทองทาให้ทั่วบาตรก่อน เพื่อให้น้ำประสานทองเชื่อมโลหะไม่ให้มีรูรั่ว สมัยโบราณใช้เตาแล่นแบบที่ใช้มือสูบลมเร่งไฟ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องเป่าลมไฟฟ้าแทน
               ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" นอกจากนี้ช่างจะต้องทำการลาย หรือการออกแบบรูปทรง เป็นการนำบาตรที่แล่นแล้วมาเคาะให้ได้รูปทรงที่ต้องการ จากนั้นต้องนำไป "ตีลาย" บนทั่งไม้ เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ การสุม หรือระบมบาตร เพื่อป้องกันการเกิดสนิม โดยในสมัยก่อนจะใช้กำมะถันทา และการทำสี อันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งทำให้บาตรเป็นสีต่างๆ อีกด้วย... !!!
                      นายตะลอน