"ตะลอนตามอำเภอใจ"-ธรรมชาติท่ามกลางขุนเขาที่สวยงาม รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมต่างๆ วิถีชีวิตความสงบที่เรียบง่าย ถือเป็นมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งของประเทศลาว และเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่น่าท่องเที่ยวอย่างมาก
โดยเฉพาะที่ "เวียงจันทน์" ซึ่งถือเมืองหลวงของลาว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของประเทศไทย ที่สำคัญ "เวียงจันทน์" ยังคงไว้ซึ่งบรรยากาศเงียบสงบ ชาวเมืองทั่วไปดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเรียบง่าย แตกต่างจากเมืองหลวงอื่นๆ หลายประเทศในแถบเอเชีย
ปัจจุบันการเดินทางมาท่องเที่ยว "เวียงจันทน์" สะดวกสบายมาก เพียงข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากชายแดนหนองคายข้ามลำน้ำโขงไป 1,240 เมตร และเดินทางต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็ถึง "เวียงจันทน์" แล้ว หลังจากนั้นก็สามารถเลือกใช้บริการรถจัมโบ้ หรือสามล้อเครื่องเที่ยวรอบตัวเมืองได้ตามสะดวก
และเมื่อมาเยือน "เวียงจันทน์" สถานที่แห่งแรกที่ไม่ควรพลาดไปแวะชม "พระธาตุหลวง" หรือ "พระเจดีย์โลกะจุฬามณี" อีกชื่อชาวลาวเรียก "พระธาตุทอง" ถือเป็นพระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง และเป็นศูนย์รวมใจของคนลาวทั้งชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ อีกทั้งยังแทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาวอีกด้วย
ช่วงที่ผมมีโอกาสแวะเวียนมาที่ "เวียงจันทน์" ก็ได้มา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ที่
"พระธาตุหลวง" หรือ "พระธาตุทอง" แห่งนี้ ซึ่งเปรียบเหมือนสัญลักษณ์ประจำชาติลาว ที่แทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาว จึงมีความหมายต่อจิตใจชาวลาวอย่างมาก โดยพระธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 และมีรูปทรงที่ไม่เหมือนกับพระธาตุองค์อื่ๆ เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมของอาณาจักร ซึ่งมีตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยพุทธศักราชที่ 236 มีพระภิกษุลาวจำนวน 5 รูป เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
และได้อันเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามายังนครเวียงจันทน์ด้วย ต่อมาได้มีการกราบทูล "พระยาจันทบุรีประสิทธิ์ศักดิ์" เจ้านครเวียงจันทน์ในสมัยนั้น ให้สร้างพระธาตุหลวงขึ้นมา เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ เพื่อให้ชาวลาวได้กราบไหว้
โดยพระธาตุองค์เดิมนั้นสร้างด้วยหินเป็นทรงโอ่งคว่ำ มีการก่อกำแพงล้อมรอบเอาไว้ทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีความกว้าง 10 เมตร หนา 4 เมตร และสูง 9 เมตร เชื่อกันว่าพระธาตุที่เห็นในปัจจุบันสร้างครอบองค์เดิม
ต่อมา "สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช" ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้างจากหลวงพระบางมาอยู่ที่ "เวียงจันทน์" ตามดำริของ "พระเจ้าโพธิสาร" พระราชบิดา จากนั้นทรงมีพระบัญชาให้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ณ บริเวณที่เคยเป็นเทวสถานเก่าของขอม โดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2109 และหลังจากสร้างพระธาตุหลวงได้โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นล้อมรอบพระธาตุไว้ทั้ง 4 ทิศด้วย แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 แห่งด้วยกันคือ วัดพระธาตุหลวงเหนือ
และวัดพระธาตุหลวงใต้
ปัจจุบัน "พระธาตุหลวง" มีลักษณะคล้ายป้อมปราการ เพราะมีการสร้างระเบียงสูงใหญ่ขึ้นโอบล้อมรอบองค์พระธาตุไว้ พร้อมกับทำช่องหน้าต่างเล็กๆ เอาไว้โดยตลอด สำหรับประตูทางเข้านั้น เป็นประตูไม้บานใหญ่ ลงรักสีแดงไว้ทั้งหมด นอกจากนี้ รอบๆ องค์พระธาตุใหญ่ยังมีเจดีย์บริวารล้อมรอบอยู่โดยรอบอีกหลายองค์ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะเห็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาแห่งนี้ปรากฏอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักพญานาค

พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์ และถัดจากประตูทางเข้าใหญ่ประมาณ 100 เมตร จะแลเห็นพระบรมรูป "สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช" ตั้งอยู่บนฐานสูง พระหัตถ์ทรงถือพระแสงดาบวางพาดไว้บนพระเพลา เล่าสืบต่อกันว่าพระแสงดาบเล่มนี้ทำหน้าที่ปกป้อง "พระธาตุหลวง" ซึ่งได้ถือว่าเป็นศูนย์รวม
จิตใจของประชาชนชาวลาวทุกคน
ถัดมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนถนนล้านช้าง ถือเป็นที่ตั้งของ "ประตูชัย" หรือรันเวย์แนวตั้ง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งใน "เวียงจันทน์" ที่ผมมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ครับ "ประตูชัย" แห่งนี้ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนเหตุที่ "ประตูชัย" ถูกเรียกชื่อว่า "รันเวย์แนวตั้ง" เพราะการก่อสร้าง "ประตูชัย" ในอดีตใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมา

สร้างสนามบินใหม่ใน "เวียงจันทน์" ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้าง เพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน
ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ทั้งพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะแบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย นอกจากนี้ ยังมีทางขึ้นบันไดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของ "เวียงจันทน์" บนยอดของ
"ประตูชัย" อีกด้วย ซึ่งในแต่ชั้นๆ จะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้วย
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" จุดประสงค์ของการสร้าง "ประตูชัย" ขึ้นมานั้น ยังมีเรื่องเล่าว่า เพื่อเป็นที่ระลึกแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา และเชิดชูบูชาดวงวิญญาณวีรบุรุษ วีรชนของชาติทุกยุคทุกสมัยไว้เป็นแบบอย่างอันสูงส่ง แต่ดวงวิญญาณเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น จึงได้สมมติเอาเปลวไฟที่ใสส่องขาวสะอาด คือ ตัวแทนของดวงวิญญาณให้เห็นประจักษ์ตา เป็นรูปธรรม เวลาประกอบ พิธีเคารพ บูชาตอบแทนบุญคุณ ให้เหมือนกับว่าดวงวิญญาณปรากฏอยู่ต่อหน้าอีกด้วย...!!!
นวย เมืองธน
********************************
โดยเฉพาะที่ "เวียงจันทน์" ซึ่งถือเมืองหลวงของลาว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของประเทศไทย ที่สำคัญ "เวียงจันทน์" ยังคงไว้ซึ่งบรรยากาศเงียบสงบ ชาวเมืองทั่วไปดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเรียบง่าย แตกต่างจากเมืองหลวงอื่นๆ หลายประเทศในแถบเอเชีย
ปัจจุบันการเดินทางมาท่องเที่ยว "เวียงจันทน์" สะดวกสบายมาก เพียงข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากชายแดนหนองคายข้ามลำน้ำโขงไป 1,240 เมตร และเดินทางต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็ถึง "เวียงจันทน์" แล้ว หลังจากนั้นก็สามารถเลือกใช้บริการรถจัมโบ้ หรือสามล้อเครื่องเที่ยวรอบตัวเมืองได้ตามสะดวก
และเมื่อมาเยือน "เวียงจันทน์" สถานที่แห่งแรกที่ไม่ควรพลาดไปแวะชม "พระธาตุหลวง" หรือ "พระเจดีย์โลกะจุฬามณี" อีกชื่อชาวลาวเรียก "พระธาตุทอง" ถือเป็นพระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง และเป็นศูนย์รวมใจของคนลาวทั้งชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ อีกทั้งยังแทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาวอีกด้วย
ช่วงที่ผมมีโอกาสแวะเวียนมาที่ "เวียงจันทน์" ก็ได้มา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ที่
"พระธาตุหลวง" หรือ "พระธาตุทอง" แห่งนี้ ซึ่งเปรียบเหมือนสัญลักษณ์ประจำชาติลาว ที่แทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาว จึงมีความหมายต่อจิตใจชาวลาวอย่างมาก โดยพระธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 และมีรูปทรงที่ไม่เหมือนกับพระธาตุองค์อื่ๆ เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมของอาณาจักร ซึ่งมีตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยพุทธศักราชที่ 236 มีพระภิกษุลาวจำนวน 5 รูป เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
โดยพระธาตุองค์เดิมนั้นสร้างด้วยหินเป็นทรงโอ่งคว่ำ มีการก่อกำแพงล้อมรอบเอาไว้ทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีความกว้าง 10 เมตร หนา 4 เมตร และสูง 9 เมตร เชื่อกันว่าพระธาตุที่เห็นในปัจจุบันสร้างครอบองค์เดิม
ต่อมา "สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช" ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้างจากหลวงพระบางมาอยู่ที่ "เวียงจันทน์" ตามดำริของ "พระเจ้าโพธิสาร" พระราชบิดา จากนั้นทรงมีพระบัญชาให้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ณ บริเวณที่เคยเป็นเทวสถานเก่าของขอม โดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2109 และหลังจากสร้างพระธาตุหลวงได้โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นล้อมรอบพระธาตุไว้ทั้ง 4 ทิศด้วย แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 แห่งด้วยกันคือ วัดพระธาตุหลวงเหนือ
และวัดพระธาตุหลวงใต้
ปัจจุบัน "พระธาตุหลวง" มีลักษณะคล้ายป้อมปราการ เพราะมีการสร้างระเบียงสูงใหญ่ขึ้นโอบล้อมรอบองค์พระธาตุไว้ พร้อมกับทำช่องหน้าต่างเล็กๆ เอาไว้โดยตลอด สำหรับประตูทางเข้านั้น เป็นประตูไม้บานใหญ่ ลงรักสีแดงไว้ทั้งหมด นอกจากนี้ รอบๆ องค์พระธาตุใหญ่ยังมีเจดีย์บริวารล้อมรอบอยู่โดยรอบอีกหลายองค์ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะเห็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาแห่งนี้ปรากฏอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักพญานาค
พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์ และถัดจากประตูทางเข้าใหญ่ประมาณ 100 เมตร จะแลเห็นพระบรมรูป "สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช" ตั้งอยู่บนฐานสูง พระหัตถ์ทรงถือพระแสงดาบวางพาดไว้บนพระเพลา เล่าสืบต่อกันว่าพระแสงดาบเล่มนี้ทำหน้าที่ปกป้อง "พระธาตุหลวง" ซึ่งได้ถือว่าเป็นศูนย์รวม
จิตใจของประชาชนชาวลาวทุกคน
ถัดมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนถนนล้านช้าง ถือเป็นที่ตั้งของ "ประตูชัย" หรือรันเวย์แนวตั้ง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งใน "เวียงจันทน์" ที่ผมมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ครับ "ประตูชัย" แห่งนี้ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนเหตุที่ "ประตูชัย" ถูกเรียกชื่อว่า "รันเวย์แนวตั้ง" เพราะการก่อสร้าง "ประตูชัย" ในอดีตใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมา
สร้างสนามบินใหม่ใน "เวียงจันทน์" ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้าง เพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน
"ประตูชัย" อีกด้วย ซึ่งในแต่ชั้นๆ จะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้วย
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" จุดประสงค์ของการสร้าง "ประตูชัย" ขึ้นมานั้น ยังมีเรื่องเล่าว่า เพื่อเป็นที่ระลึกแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา และเชิดชูบูชาดวงวิญญาณวีรบุรุษ วีรชนของชาติทุกยุคทุกสมัยไว้เป็นแบบอย่างอันสูงส่ง แต่ดวงวิญญาณเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น จึงได้สมมติเอาเปลวไฟที่ใสส่องขาวสะอาด คือ ตัวแทนของดวงวิญญาณให้เห็นประจักษ์ตา เป็นรูปธรรม เวลาประกอบ พิธีเคารพ บูชาตอบแทนบุญคุณ ให้เหมือนกับว่าดวงวิญญาณปรากฏอยู่ต่อหน้าอีกด้วย...!!!
นวย เมืองธน
********************************