ประสบปัญหา ทั้งจากภัยธรรมชาติ การระบาดของโรค แมลงศัตรูพืช และความแปรปรวนด้านการตลาด ทำให้เกิดผลผลิตต่ำรายได้ไม่มั่นคง
จากปัญหาดังกล่าว "การทำไร่นาสวนผสม" จึงเป็นทางเลือกรูปแบบหนึ่งของเกษตรกร โดยลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชอย่างเดียว มาปลูกพืชหลายอย่างร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาส สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาสวนผสมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับ
ยั่งยืนในอาชีพการเกษตร
ผมหยิบยกเรื่อง"การทำไร่นาสวนผสม" มาเขียนถึง เพราะมีโอกาสมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เยี่ยมชม "ไร่นาสวนผสม" ของ "ลุงบุญลือ" หรือ "นายบุญลือ เต้าแก้ว" ที่หมู่ 7 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี พื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ ของ "ลุงบุญลือ" ทำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่ปลูกไม้ผล 12 ไร่ ทำนา 4 ไร่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา 2 ไร่ ปลูกบ้านและโรงปุ๋ย 2 ไร่ แถมเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้พัฒนาที่ดินตามแนวเศษฐกิจพอเพียงอีกด้วย ที่สำคัญ "ลุงบุญลือ" ยังได้รับรางวัลและมีผลงานมากมาย อาทิ เกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด อาชีพไร่นาสวนผสม ได้
ส่วนภูมิปัญญาเกษตรกรรมของ "ลุงบุญลือ" เรียกได้ว่าถึงขั้น "ปราชญ์ชาวบ้าน" ความสามารถโดดเด่น คือผลิตน้ำจุลินทรีย์เพื่อบำรุงดิน และไม้ผล ผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เพื่อไล่แมลง ทำปุ๋ยน้ำนมจุลินทรีย์ อีกทั้ง ยังเชี่ยวชาญในด้านการเพาะเห็ดฟาง เป็นหมอดินอาสา เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจในการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ รองประธานกลุ่มปุ๋ยอัดเม็ด รองประธานกลุ่มเกษตรกรทำนาประจำตำบล เป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ครูบัญชีอาสา เป็นคณะกรรมการปลูกข้าวปลอดสารพิษ และคณะกรรมการศูนย์ถ่าย
ทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ตลอดจนเป็นผู้นำในการจัดประชุมสมาชิกกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทำนาปลูกข้าว กลุ่มปลูกไม้ผล และกลุ่มปลูกผัก
ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาหลายราย ที่ยังคงต้องรับ
ภาระหนัก กับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น มีอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ "ลุงบุญลือ" บอกว่าการนำแหน ที่อยู่ตามแหล่งน้ำทั่วไป มาเป็นส่วนผสมสำหรับใช้เลี้ยง ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ซึ่งเป็นปลากินพืช แทนอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีราคาแพงและนิยมใช้กันทั่วไป ส่วนผสมคือ แหน 5 กิโลกรัม รำละเอียด 1 กิโลกรัม และน้ำหมักปลา ที่ได้จากการนำเศษปลาที่เหลือทิ้งมาหมัก วิธีการทำ นำแหนและรำละเอียดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
จากนั้นเทน้ำหมักปลาลงไป 1 ลิตร คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันอีกครั้ง ก็สามารถนำ
ไปใช้เลี้ยงปลาได้ โดยปั้นเป็นก้อนๆ โยนให้ปลากิน สูตรนี้ ใช้เมื่อปลาอายุได้ประมาณ 1 เดือนเศษ ให้อาหารปลาเช้าหรือเย็น วันละ 1 ครั้ง บ่อละ 1 กิโลกรัม ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 - 8 เดือน ก็จับปลาไปขายได้ วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารลงได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าช่วงไหนในแหล่งน้ำไม่มีแหน ก็สามารถใช้ต้นกล้วยแทน โดยนำมาหั่น และตำให้ละเอียดก่อน จึงนำไปคลุกกับรำละเอียด และน้ำหมักปลาให้ปลากินแทน ซึ่งก็ได้ผลดีเช่นกัน แถม "ลุงบุญลือ" ยังบอกครับว่า หากนำอาหารปลาสูตรนี้ ไปตากแดดให้แห้ง แล้วอัดเม็ด จะเก็บไว้ใช้ได้นาน
การมาเยี่ยมชม "ไร่นาสวนผสม" ของ "ลุงบุญลือ" ครั้งนี้ นอกจากผมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับด้านเกษตรกรรม หลายๆอย่างแล้ว ยังได้ผ่อนคลายจิตใจจากเดิน
ชมสวนอีกด้วย แถมตามมุม ตามซุ้มต่างๆ ยังมีจักรยานเก่าๆ ทีวีเก่าๆ วางให้เห็นอีก แหม...อดคิดถึงสมัยตอนเด็กๆ ที่เคยอยู่บ้านในสวนแถวๆฝั่งธนบุรี ที่มีท้องร่องน้ำใสๆ ถือคันเบ็ดเดินตกปลาตามสวน มีผักบุ้งไทย ผักตำลึง กระถิน ที่ขึ้นยอดอ่อนให้เห็นเต็มไปหมด พูดง่ายๆ ตำน้ำพริกกินกัน แทบจะไม่ต้องเสียเงินไปหาหาซื้อผักที่ตลาดเลยในช่วงนั้น โดยเฉพาะพวก โหระพา กระเพรา ตะไคร้ มะกรูด มะนาว และพริกขี้หนูสวน ฯลฯ มีปลูกกันทุกบ้าน
แถมถ้าวันไหนไปตกปลาแล้วได้ปลาช่อนมา ที่บ้านจะครื้นเครงกันเป็นพิเศษ เพราะต้องช่วยกันคิดว่าจะเอาปลาช่อนที่ตกได้มาทำ

คงไม่พลาดเมนู "ฉู่ฉี่ปลาหมอ" นึกถึงภาพเก่าๆในอดีตแล้วอดที่จะกลืนน้ำลายไม่ได้ทีเดียวเชียครับ
ส่วนสรรพคุณของผักหวานนั้น ถือว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่ให้ประโยชน์มากมาย เพราะนอกจากจะมีรสชาติอร่อย ยังให้โปรตีน เกลือแร่ และมิตามิน ส่วนใครจะมาฝากท้องที่ "ร้านป้าน้อย" หากขับรถรถเลี้ยวเข้ามาในอำเภอบ้านหมอ ถ้ามาไม่ถูกถามชาวบ้านแถวนั้นว่า "ร้านป้าน้อยเจ้าเก่า" ก๊วยเตี๋ยวผักหวาน-อาหารป่า อยู่ตรงไหน เชื่อว่ามีคำตอบแน่นอน วันนี้ลาไปก่อนครับ...!!!
นวย เมืองธน