"ตะลอนตามอำเภอใจ"-"เมืองเชียงคาน" หรืออำเภอเชียงคาน อำเภอเล็กๆอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดเลย และเป็นจังหวัดหนึ่งหนึ่งของภาคอีสานที่มีพื้นที่ติดชายแดนสปป.ลาว ถือเป็นเมืองเล็กๆ ที่น่ารัก ผู้คนอัธยาศัยดี มีน้ำใจไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส เวลาที่นี่รู้สึกว่าผ่านไปช้ามาก เราสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่าง


และคุณกิตติพงศ์ สุขภาคกุล หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์กรมการปกครอง ที่พามาสัญจรดูวิถีวัฒนธรรมของอำเภอเชียงคาน จึงทำให้ได้เห็น"บทบาทนายอำเภอกับการทำงานแบบบูรณาการ"





ดำบ้านนาป่าหนาด เนื่องจากมีผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับบ้าน

บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นหมู่บ้านที่มีประชากร เป็นเชื้อสาย " ไทดำ" หมู่บ้านเดียวในจังหวัดเลย ที่ตั้งของหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่สูง ซึ่งเรียกตาม ภาษาท้องถิ่นทั่วไปว่า "โคก" ชาวบ้านนาป่าหนาด และหมู่บ้านใกล้เคียงจะเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านโคก" หรือบางทีก็เรียกว่า " บ้านโคกโซ่งดำ"
การตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้านนาป่าหนาด จะตั้งเรียงรายยาวไปตามถนนภายในหมู่บ้าน โดยมีถนนสาย บ้านนาบอน – บ้านสงเปลือย เป็นเส้นทางผ่านกลาหมู่บ้านภายในหมู่บ้านจะมีซอยตัดเป็นแนวเดียวกันสิบซอย ปัจจุบัน บ้านนาป่าหนาดแบ่งการ ปกครองเป็นสองหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 (คุ้มใต้) และ
หมู่ที่ 12 (คุ้มเหนือ) อาณาเขตบ้านนาป่าหนาดมีเขตติดต่อกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ จรดบ้านวังอาบช้างทิศใต้ จรดบ้านหินตั้ง ทิศตะวันออก จรดบ้านตาดซ้อ ทิศตะวันตก จรดบ้านนาเบน
จากคำบอกเล่าของพ่อแม่ และผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนาป่าหนาดทราบว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2460 ชาวบ้านได้พากันอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือน อยู่ที่นี่ ซึ่งเมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ตอนแรกเรียกว่า บ้านนาป่าติ้ว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า"บ้านนาป่าหนาด"เพราะบริเวณนี้ มีต้นหนาดมากมาย นอกจากนี้ยังมีป่าไผ่ ไม้ประดู่ ไม้เปือย ไม้แดง ไม้เต็งรัง มากมาย มีสัตว์ป่าชุกชุม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 แห่ง คือ ลำน้ำฮวยและลำน้ำ ห้วยป่าติ้ว หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห้วยน้อย
หล่อเลี้ยงพืชพันทางการเกษตร มีสัตว์น้ำมากมายอันเป็นอาหารของชาวบ้านได้อย่างดี ชาวบ้านในแถบนี้ จะปลูกข้าวไร่กัน จึงไม่มีนาข้าว เมื่อชาวไทยดำ ได้เข้ามาอยู่บริเวณนี้ ก็พากันทำนาปลูกข้าวซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมชาวบ้านในแถบนี้เห็นเข้า จึงได้ พากัน ทำนาปลูกข้าวเหมือนชาวบ้านนาป่าหนาดจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านไทดำบ้านนาป่าหนาด ตั้งอยู่ที่บ้านนาป่าหนาดคุ้มใต้ ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ตั้งอยู่บนที่ดิน ของอาจารย์จารุณี ซึ่งเสียค่าเช่าเป็นรายปีแต่ตั้งแต่ก่อตั้งมาท่านอาจารย์ยังไม่เก็บค่าเช่า เลยแม้แต่บาทเดียวก็สนับสนุนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ
ของชุมชน หมู่บ้านวัฒนธรรมมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มชาวบ้านมีสมาชิกเป็นชาวไทดำ ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 50 คนและมีการจัดตั้งกันเป็นกองทุนเก็บเงิน คนละ 100 บาทต่อปี เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและสร้างความสามัคคีแก่ชาวไทดำที่เหลืออยู่
ในส่วนของการจัดแสดงนั้น ภายในที่ตั้งของหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำนั้น เป็นการจัดแสดงสถานการณ์การใช้ ชีวิตประจำวันของชาวไทยดำ การทอผ้า การตีมีด การใช้ชีวิตของคนเฒ่าคนแก่ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวไทดำและยังมีการสนับ สนุนให้คนแก่ของหมู่บ้านได้มีกิจกรรม และมีการประชุมกันภายในกลุ่มเป็นประจำ
กัน 2 เดือนต่อครั้งและประชุมใหญ่ปีละครั้ง ในการจัดตั้งได้อาศัยงบประมาณที่อาจารย์เพชรตะบองได้จัดหามาจากหลายที่และ ชาวบ้านช่วยเหลือกันจนก่อตั้งได้และมีทางองค์การ บริหารส่วนตำบลเขาแก้วสนับสนุนมาบ้างเป็นครั้งคราวและปัจจุบันทางองค์การ บริหารส่วนตำบลเขาแก้วก็จัดสร้างแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทดำขึ้น ที่คุ้มเหนือเช่นกัน
หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาดเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน สาธิต ความเป็นไทดำทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือการ ดำเนินชีวิตต่าง ๆ ของชาวไทดำ ให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมได้เห็นภาพจริงองค์ความรู้ที่เกิด
จากการศึกษาวัฒนธรรมของชาวไทดำนั้น ทำให้เกิดความภูมิใจและสำนึกรักในความเป็นชาวไทดำ และอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักชาวไทดำได้ชัดเจน ขึ้นว่าเป็นมาอย่างไร การเดินทาง ออกจากตัวจังหวัดเลยเดินทางไปตามเส้นทาง เลย – เชียงคาน ข้ามสะพานแม่น้ำเลย สักสองกิโลเมตร เป็นบ้านธาตุ เลี้ยวขวาที่สามแยกบ้านธาตุ และห่าง จากแยกประมาณ 400 เมตร ก็จะพบทางแยกซ้าย เพื่อไปบ้านนาป่าหนาด ระยะทางจาก สามแยกบ้านธาตุ ประมาณ 8 กิโลเมตร
ช่วงสุดท้ายของตะลอนตามอำเภอใจในวันนี้ ไทดำแม้จะอพยพอยู่หลายครั้ง ตั้งแต่หลบหนีภัยศึกฮ่อ
จนถึงหลบหนีอิทธิพลของฝรั่งเศสระหว่าง พ.ศ. 2423 – 2450 จุดประสงค์เพื่อความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง ไทดำได้ข้ามแม่น้ำโขงมายังประเทศไทยแล้วไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนาป่าติ้ว ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ในราวปี พ.ศ. 2450 ต่อมาทางการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้าน "นาป่าหนาด"

นวย เมืองธน
*******************************************